สถานการณ์และแนวทางการเฝ้าระวังปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อวิทยุกระจายเสียง ในอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พิทยาภรณ์ ศรีคำภา โรงพยาบาลศรีสมเด็จ

คำสำคัญ:

การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โฆษณาผิดกฎหมาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางสถานีวิทยุที่รับฟังได้ชัดเจน ในพื้นที่ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด และการวางแนวทางเฝ้าระวังในพื้นที่

รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้วิจัยได้ทำการบันทึกเทปอัดเสียงที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุที่รับฟังได้ชัดเจน ในพื้นที่ ที่เลือกมาอย่างสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 10 สถานี ตั้งแต่เวลาเปิดสถานีจนถึงเวลาที่ปิดทำการ สถานีละ 2 วัน ในระหว่างวันที่ 12 -19 เมษายน พ.ศ. 2561 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละและค่าเฉลี่ย และทำการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเพื่อวางแนวทางในการเฝ้าระวังในพื้นที่

ผลการวิจัย : สถานีวิทยุทั้ง 10 แห่ง มีจำนวน 5 แห่งซึ่งมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอย่างน้อย 1 ชิ้น มีการโฆษณาทั้งหมด  1,284  ครั้ง มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายจำนวน  683 ครั้ง (53.19%)  โฆษณาที่ผิดกฎหมายแบ่งประเภทตามกฎหมายยา (55.34%), อาหาร (41.43%) และเครื่องสำอาง (3.22%)  ประเด็นของการโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่พบมากที่สุด ได้แก่ การแสดงสรรพคุณทางยาโดยการใช้ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง โดยมีแนวทางในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีปัญหาโฆษณาผิดกฎหมาย คือ การมีการดำเนินการที่ต่อเนื่องและมีการติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ  มีการสะท้อนข้อมูลและมีการนำสู่การปฏิบัติโดยการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องด้วยเครือข่ายในชุมชน และการพัฒนาศักยภาพด้านองค์ความรู้ในการรู้เท่าทันโฆษณา

สรุปและข้อเสนอแนะ : เกิดแนวทางการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โฆษณาผ่านทางวิทยุกระจายเสียงในพื้นที่ร่วมกัน เครือข่ายรู้เท่าทันการโฆษณาและสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม

References

ประวิ อ่ำพันธุ์. สถานการณ์ ปัญหา และการพัฒนารูปแบบแก้ไขปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(6): 1061.

ดนุชา สลีวงศ์. การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ฟังรายการวิทยุ ชุมชนมูลนิธิบุญญาภรณ์ (F.M. 90.75 MHz) วัดโสภณา รามอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.

ตุลาภรณ์ รุจิระยรรยง. สถานการณ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี ในยุคของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.). [อินเทอร์เน็ต]. ลพบุรี; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 สิงหาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก : http://tjpp.pharmacy.psu.ac.th/wp-content/uploads/2015/09/58-17final.pdf

กนกพร ชนะค้า. ความชุกของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. [อินเทอร์เน็ต]. บุรีรัมย์; 2559 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก : http://tjpp.pharmacy.psu.ac.th/wp-content/uploads/2016/11/59-31final.pdf

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ใน : โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายในยุค คสช. โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, 2557.

สุภิญญา กลางณรงค์. โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ใน : โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายในยุค คสช. โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01