ผลการเสริมพลังอำนาจแบบกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมการผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปทุมรัตต์

ผู้แต่ง

  • นฤพร ไชยวงศ์ โรงพยาบาลปทุมรัตต์

คำสำคัญ:

การเสริมพลังอำนาจ, พฤติกรรมการผิดนัด, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผิดนัด  พฤติกรรมดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

รูปแบบการวิจัย:  เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง          

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 60 คน เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ผิดนัดที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก  ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2563 กลุ่มละ 30 คน  โดยกลุ่มทดลองได้รับการเสริมพลังอำนาจแบบกลุ่ม  และกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (Independent t-test)

ผลการวิจัย:   หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมผิดนัดแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมผิดนัดลดลง 2.18 คะแนน (95% CI; 1.936, 2.441) ส่วนการดูแลตนเอง พบว่า  ผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองโดยรวม มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)โดยมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองโดยรวมเพิ่มขึ้น  0.97 คะแนน (95% CI; 0.875, 1.080)   และระดับน้ำตาลในเลือด หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มทดลองมีระดับน้ำตาลในเลือดแตกต่างกัน   เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.009)โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 16.89 mg/dL  95% CI; 4.46, 29.27)

สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเสริมพลังอำนาจแบบกลุ่มส่งให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมผิดนัด และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และพฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น

References

สมาคมโรคเบาหวาน. การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต].2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.diabassocthai.org/statistic/1558

ธิติ สนับบุญ, วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์. การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม คณะแพทยศาสตร์ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

มันทนา ประทีปะเสน, วงเดือน ปั้นดี. อาหารกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจขาดเลือด: การทบทวนความรู้กับการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน. นนทบุรี: สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์, 2542.

จำลอง ดิษยวณิช. ความเครียด ความวิตกกังวล และสุขภาพ. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

เยาวภา พรเวียง, วิภาพรรณ หมื่นมา, พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล, วันทนา แก้วยองผาง. ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มีแผลที่เท้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2555; 22(3): 85-97.

โรงพยาบาลปทุมรัตต์. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลปทุมรัตน์ .ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลปทุมรัตต์, 2558.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ.การปรับปรุงเครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้า KKU-DI เพื่อให้มีความไวต่อเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2553; 55(2): 177-89.

เทพ หิมะทองคำ. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2539.

สุปวีณ์ ธนอัศวนนท์, เอกชัย คำลือ, ธาราทิพย์ อุทัศน์, พร้อมพันธ์ คุ้มเนตร, วัชรี ผลมาก . เหตุผลการผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2554;19:2.

อรวรรณ ตะเวทิพงศ์. ประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยแบบคนไข้เป็นศูนย์กลาง. วารสารระบบบริการการปฐมภูมิ และเวชชาสตร์ครอบครัว 2552: 57-61.

อมร สุวรรณนิมิต. การบริหารการพยาบาล. มหาสารคาม: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2553.

Gibson. The process of empower in mother of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing 1995; 21(6): 1201-10.

อัมราภรณ์ ภู่ระย้า, นิษฐา นันทบุตร. ศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37(1): 22-31.

กุนนที พุ่มสงวน. สุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557. 15(2): 10-4.

Polit, D. F., Beck, C. T., & Hungler, B. P. Essentials of nursing research: Methods, appraisal, and utilization (5th ed.). Philadelphia: Lippincott, 2001.

Cohen, J. Statistical power analysis for behavioral sciences.(2"'ed.).Hillsdale, NJ:Lawrence Erlbaum, 1988.

Glass, G. V, MeGaw, B. and Smith, M. L. Meta-analysis in Social Research. Beverly Hills, CA:SAGE Publications, 1981.

ยุวดี วงษ์แสง. ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. [วิทยานิพนธ์].กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

Miller, F. Judith. Coping with Chronic Illness Overcoming Powerlessness (3rded.). Philadelphia: F.A. Davis Company, 2000.

คนึงนุช แจ้งพรมมา, พัทธนันท์ คงทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2561; 10 (19): 1-13.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์; และ นิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น2556; 6(3): 102-9.

วิมลรัตน์ จงเจริญ, วันดี คหะวงศ์, อังศุมา อภิชาโต, อรนิช แสงจันทร์, ประภาพร ชูกำเนิด, กัลยาณี บุญสินและคณะ. รูปแบบการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551; 26 (1): 71-84

Fetterman, D. M. & Wandersman, A. Empowerment Evaluation: Principle in Practice. New York:Guilford, 2005.

จุฑารัตน์ รังษา, ยุวดี รอดจากภัย, ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559; 31(6): 376-83.

ดวงมณี วิยะทัศน์และอุไร ศิลปะกิจโกศล. ผลของโปรแกรมการจัดกิจกรรมกลุ่มเรียนรู้ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลพนมสารคาม. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561; 5(2): 39-54.

Resnicow K, McMasterF, BocianA, HarrisD, Zhou Y, Snetselaar L, et al. Motivational interviewing and dietary counseling for obesity in primary care: an RCT.Pediatrics. 2015; 135(4): 649-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01