ผลการใช้กิจกรรมการกิน การกอด การเล่น และการเล่านิทานที่มีต่อความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กวัยแรกเกิดอายุ- 5 ปี เครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การกิน การกอด การเล่น และการเล่านิทาน, ความฉลาดทางสติปัญญา, ความฉลาดทางอารมณ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ในเด็กวัยแรกเกิดอายุ - 5 ปี และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้กิจกรรมการกิน การกอด การเล่น และการเล่านิทานของผู้ปกครองเด็ก
รูปแบบการวิจัย : Qua-si experimental study แบบ One group pretest-posttest design
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 550 คน เป็นเด็กอายุ 0-5 ปีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก ได้รับการพัฒนาโดยใช้กิจกรรมการกิน การกอด การเล่น และการเล่านิทาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบบันทึกพฤติกรรมความฉลาดทางสติปัญญาและแบบวัดความพึงพอใจของกรมสุขภาพจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ paired t-test
ผลการวิจัย: หลังการพัฒนา เด็กอายุ 0-5 ปี มีคะแนนเฉลี่ยความอบอุ่นในครอบครัวมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความอบอุ่นในครอบครัวเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.61 คะแนน (95%CI: 0.566, 0.651) คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001) คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.53 คะแนน (95%CI: 0.49, 0.567) หลังการพัฒนา 2 เดือนเด็กอายุ 0-5 ปี มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสติปัญญามากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสติปัญญาเพิ่มขึ้นเท่ากับ 3.97 คะแนน (95%CI: 3.791, 4.142) และพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กมีความพึงพอใจต่อการใช้กิจกรรมการกิน การกอด การเล่น และการเล่านิทาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean= 4.23,SD = 0.48)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้กิจกรรมการกิน การกอด การเล่น และการเล่านิทานส่งผลให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีความอบอุ่นในครอบครัว ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น
References
พนิต โล่เสถียรกิจ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย.[อินเทอร์เน็ต]. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี, กรมอนามัย; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc03.files.wordpress. com/2015/09/full-paper-childdev.pdf
นิชรา เรืองดารกานนท์. พัฒนาการและเชาว์ปัญญาของเด็กไทย. ใน: นิชรา เรืองดารกานนท์, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิสย์; 2551.
กรมสุขภาพจิต. รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร; สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กระทรวงสาธารณสุข. 2555.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. เอกสารตรวจราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด รอบที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ.2562
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดกิจกรรม “ฝึกคิดแก้ปัญหา พัฒนา EQ”สำหรับอาสาสมัคร/แกนนำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE, 2558.
จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ, วิชาภรณ์ คันทะมูล, ระบอบ เนตรทิพย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2562; 6(1): 71-85.
Cohen, J. Statistical power analysis for behavioral sciences. (2nded.). Hillsdale, NJ : Lawrence Erlbaum 1988.
ณปภัช จึงแย้มปิ่น และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์. ผลการใช้กระบวนการให้การศึกษาผู้ปกครองแบบกลุ่มที่มีต่อการส่งเสริมวินัยในตนเองแก่เด็กวัยอนุบาล. OJED 2548; 10(2): 74-86.
สุดหทัย ประสงค์, นิตยา สินสุกใส, นันทนา ธนาโนวรรณ, พฤหัส จันทร์ประภาพ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดา-ทารกต่อการตอบสนองของมารดาต่อความต้องการของทารก และความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดา-ทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรก. NURS SCI J THAIL. 2563; 38(1): 60-72.
Campbell, D., and Palm, G. F. Group parent education: Promoting parent Learning and support. USA: Saga, 2003; 559 p.
อรัญญา กุฎจอมศรี. การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ SMILE. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) 2557; 26(3): 88-96.
Bellinger, G., Castro, D., Mills, A. Data, Information, Knowledge, & Wisdom. Retrieved from http://www.systems-thinking.org/dikw/dikw.htm. 2004.
Gage, N., & Berliner, D. Educational psychology (5th ed.), Princeton, New Jersey: Houghton Mifflin Company, 1992.
Department of Mental Health, Ministry of Public Health. A guide to developing Emotional intelligence for young children for parents (2nd edition). Nonthaburi: Printing House, Agricultural Cooperative of Thailand Limited. 2014.
กรรัตน์ คำจันทร์, ประสาท อิศรปรีดา. การพัฒนาความพร้อมทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัดประสบการณ์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2557; 4(2): 67-73.
ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สุภาพร แก้วใส, สมจิต แซ่ลิ้ม และเพียงนคร คำผา. การพัฒนาการเฝ้าระวัง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดยโสธร. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร, 2561: 147-161.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง