การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองร่วมกับมีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นิตยาภรณ์ สีหาบัว โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บที่สมอง, ภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค เปรียบเทียบและวางแผนปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วย

วัสดุและวิธีการวิจัย: ศึกษาผู้ป่วยวิกฤต บาดเจ็บที่ศีรษะร่วมกับมีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก จำนวน 2 ราย แบบเจาะจง ในปี พ.ศ. 2563 เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและสังเกตการณ์ปฏิบัติ การวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบแนวคิดตามการประเมิน 11 แบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน

ผลการศึกษา   พบว่า 1) ผู้ป่วยทั้งสองราย ขณะขับขี่จักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย ดื่มสุรา ผู้ป่วยรายที่หนึ่งมีโรคประจำตัว Liver cirrhosis child C  มีภาวะซีด มีเลือดออกง่าย และหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีภาวะเลือดเป็นกรด โพแทสเซียมในเลือดต่ำ ไตทำงานผิดปกติปัสสาวะออกน้อย ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวส่งผลให้เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงมากขึ้นผู้ป่วยไม่พร้อมผ่าตัดฉุกเฉินส่งผลให้ผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิต  ส่วนผู้ป่วยรายที่สองได้รับการผ่าตัดเอาก้อนเลือดออกภายใน  6 ชั่วโมงหลังจากเกิดอุบัติเหตุ มีภาวะติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน เนื่องจากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วย 2 ราย มีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกันจำนวน 4 ข้อ และต่างกัน จำนวน 8 ข้อ 2) ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลที่สอดรับกับปัญหาใน 3 ระยะของการดูแลตามปัญหาจากการประเมินและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล

สรุปและข้อเสนอแนะ:  การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองร่วมกับมีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง และการรักษาด้วยการผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บต่อสมอง พยาบาลต้องประเมินอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และต่อเนื่อง เพื่อประเมินความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการพยาบาล ในระยะที่จะเข้าสู่ระยะวิกฤตและระยะฟื้นฟู การปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางอย่างถูกต้อง ครบถ้วน จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อน ลดวันนอนโรงพยาบาล ลดความพิการ และลดอัตราการเสียชีวิตได้

References

ไพบูลย์ สุริยวงศ์ไพศาล. เส้นทางแห่งอุบัติเหตุ. กรุงเทพ ฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2548.

วิทยา ชาติบัญชาชัย และคณะ. คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น.ขอนแก่น : สำนักงาน บริหารโครงการวิจัยและตำรา โรงพยาบาลขอนแก่น; 2547.

สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย. การดูแลผู้ป่วยก่อนนำส่งโรงพยาบาล.กรุงเทพฯ : ศูนย์นเรนทร; 2549.

สำนักระบาดวิทยากองควบคุมโรค. ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทย.กรุงเทพฯ; 2548.

American College of Surgeons Committee on Trauma. "Advanced trauma life support for doctors." ATLS student course manual 1; 2004. p 7.

จังหวัดขอนแก่น. รายงานการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน.ขอนแก่น; 2562.

Fan JY. Effect of backrest position on intracranial pressure and cerebral perfusion pressure in individuals with brain injury: a systemic review. JNN 2004; 36(5): 278-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01