การพัฒนาและประเมินผลแนวทางป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรทางการพยาบาล ตึกผู้ป่วยอายุรกรรมและตึกศัลยกรรม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ ใจดี โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
  • พิมพ์สุภา ติดชม โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การป้องกัน, ดื้อยา, การติดเชื้อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวทางการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรทางการพยาบาลตึกผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมและศัลยกรรมโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา ( Research and development  study)

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลากรทางการพยาบาลตึกผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม  จำนวน 46 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินความพึงพอใจและ แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ที่มีความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ  0.78  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: บุคลากรทางพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( 51.44%)  มีความคิดเห็นต่อวิธีการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันแพร่กระจายเชื้อดื้อยา โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย (66.3%)  และการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของบุคคลากรพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติ (88.24%) 

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแนวทางป้องกันที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้การปฏิบัติการป้องกัน  และการติดเชื้อดื้อยาให้ครบถ้วน สามารถกำหนดเป็นนโยบายการพยาบาลให้ชัดเจน รวมทั้ง   และการติดตามประเมินผลได้อย่างต่อเนื่อง

References

WHO. Evidence of hand hygiene to reduce transmission and infections by multidrug resistant organisms in health-care setting. Available from: URL: http//www. who.int>MDRO_literature-review (13/09/ 2015).

วีรพงศ์ วัฒนาวนิช และพรรณทิพย์ ฉายากุล. การติดเชื้ออะซินีโตแบคเตอร์ในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในหออภิบาล. วารสารสงขลานครินทร์เวชสาร 2556, 31(2), 91-100

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อจุลชีพดื้อยาในโรงพยาบาล. 2554.

Branson BM, Handsfield HH, Lampe MA, et al; Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Revised recommendations for HIV testing of adults, adolescents, and pregnant women in health-care settings. MMWR Recomm Rep. 2006; 55(RR-14):1-1716988643.

ฐานข้อมูลงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ ประจำปี 2561 . 2561.

ขวัญตา กล้าการนา. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติของพยาบาล ต่อการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อสแตฟฟิโลค็อกคัสออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน ในหอผู้ป่วยหนัก. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .เชียงใหม่. 2550.

ชุติมา อ่อนสะอาด. ผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อสแตปฟิโลคอกคัสออเรียส ที่ดื้อต่อยาเมธิซิลินต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด. พยาบาลเวชสาร 2554, 39(2), 51-65.

ประภาพร ขำสา. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการติดเชื้อต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการแยกผู้ป่วยตามวิถีทางการแพร่กระจายเชื้อในสถาบันบำราศนราดูร [วิทยานิพนธ์].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.

Cromer, A. L., S. C. Latham, et al. Monitoring and feedback of hand hygiene compliance and the impact on facility-acquired methicillin-resistant Staphylococcus aureus. American Journal of Infection Control 2008, 36(9), 672-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01