การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เยาวลักษณ์ คำวิไชย โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ผลการพัฒนา, การดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยและพัฒนา (Research  and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย: ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ จำนวน132 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบเก็บข้อมูลซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วนคือข้อมูลทั่วไปและผลการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ   เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเลคทรอนิคของโรงพยาบาล โปรแกรม HosXp แล้วบันทึกข้อมูลในแบบเก็บข้อมูลระหว่างวันที่  1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมานได้แก่  Independent  t-test

ผลการวิจัย: ผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ปี พ.ศ.2561 Door to Refer ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันปี พ.ศ.2560 กับปี พ.ศ.2561  Door to EKG, Door to Needle, Onset  to  Needle ไม่แตกต่างกัน

สรุปและข้อเสนอแนะ: เห็นควรให้แพทย์และพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคหัวใจจัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรค STEMI  และการให้ยา Streptokinase ในกลุ่มเจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินและตึกผู้ป่วยใน ปีละ 1 ครั้งเพื่อให้มีความรู้ในการคัดกรองและมีความมั่นใจในการให้ยา Streptokinase เพิ่มมากขึ้น พยาบาลเจ้าของคลินิกโรคเรื้อรังและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรัง  HT  IHD  DM  เกี่ยวกับโรค AMI และระบบ EMS  เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงอาการฉุกเฉินที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล

References

เกรียงไกร เฮงรัศมี, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทย์การพิมพ์; 2556.

โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. สรุปผลงานประจำปี 2561. เอกสารอัดสำเนา; 2561.

เปรมฤดี โคตรสมบัติ. ระบบการดูแลผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบไร้รอยต่อในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. ใน: ประชุมวิชาการ Cardiac Network Forum ครั้งที่ 3: Pot Puri เครือข่ายหัวใจสู่ชุมชน; 26-28 มกราคม 2554; ณ ห้องประชุมโรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก; 2554.

จันทิมา พรเชนศวรพงศ์, จันทร์นภา คำวัจนัง, กวินทร์นาฎ บุญชู. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครนายก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 23(3): 97-110.

อมรรัตน์ มุขวัลย์, ราณี ขาวดี. ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลชุมชน. ใน: ประชุมวิชาการ Cardiac Network Forum ครั้งที่ 3: Pot Puri เครือข่ายหัวใจสู่ชุมชน; 26-28 มกราคม 2554; ณ ห้องประชุมโรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก; 2554.

นิยดา อกนิษฐ์, สุชาดา วิภวกานต์, สุภาณี สิทธิสาร. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI โรงพยาบาลกระบี่. วารสารกองการพยาบาล 2556; 40(3): 70-84.

สุวนิตย์ โพธิ์จันทร์, (2554) การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554; 29(1): 22-30.

จรินทร์ ขะชาตย์, เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล, สมควร สุขสัมพันธ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557; 24(1): 136-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01