การดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
การดูแลตนเอง, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : .เพื่อศึกษาการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มารับรักษาที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 70 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้อง การสนับสนุนทางสังคมและการดูแลตนเองของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ที่มีความเชื่อมั่นโดยวิธีอัลฟาของครอบบาค มีค่าเท่ากับ 0.65 และ 0.67 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการล้างไตทางช่องท้อง อยู่ในระดับปานกลาง (69%) การสนับสนุนทางสังคม (58%) และการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (59%) ตามลำดับ
สรุปและข้อเสนอแนะ :จากข้อค้นพบของการศึกษาครั้งนี้ ควรมีการพัฒนารูปแบบการสอน สื่อ การให้คำปรึกษาสร้างเครือข่ายกลุ่มมิตรภาพบำบัด เพื่อพัฒนาศักยภาพประสิทธิภาพในการดูแลตนเอง รวมถึงการประสานงานทีมสหวิชาชีพ ส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคม ให้มีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน ช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้องดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2558.
เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. ข้อมูลการรักษาทดแทนไตด้วย CAPD ในประเทศไทย.Textbook of Peritoneal dialysis. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เนเจอร์นัล พับลิเคชัน; 2551.
โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. สรุปผลงานประจำปี 2560. เอกสารอัดสำเนา
นุชจรีย์ หอมนาน. การสอนผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องชนิดต่อเนื่อง. ใน: ชลธิป พงศ์สกุล, ทวี ศิริวงศ์, บรรณาธิการ. Update on CAPD 2007. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
วัชรี รัตนวงศ์, ทิพาพร จ้อยเจริญ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2560.
สุพิชา อาจคิดการ, ลิงจง โปธิปาล, ดวงฤดี ลาศุขะ (2555). พฤติกรรมการจัดการตนเอง และปัจจัยการทำนายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. พยาบาลสาร 2556; 40(ฉบับพิเศษ): 22-32.
สุธาสินี วีระเดชะ. การจัดการตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
คัทลียา อุคติ, ณัฐนิช จันทจิรโกวิท. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีขจัดของเสียทางเยื่อบุช่องท้อง. สงขลานครินทร์เวชสาร 2550;25(3): 171-77.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง