ผลการนวดประคบหลังด้วยถุงถั่วเขียวต่อการลดความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด ในตึกคลอด โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • นิรมล สังวร โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ
  • จิตติมา บุญกอง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การลดความเจ็บปวด, นวดประคบหลังด้วยถุงถั่วเขียว, ระยะเจ็บครรภ์คลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอดระหว่างหญิงตั้งครรภ์กลุ่มที่ ได้รับการนวดประคบด้วยถุงถั่วเขียวกับกลุ่มที่ได้รับการนวดธรรมดา

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ โดยการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 20 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลระดับความเจ็บปวดขณะเจ็บครรภ์คลอดก่อนและหลังการนวดแบบธรรมดาและนวดประคบด้วยถุงถั่วเขียวที่ทำให้ร้อนด้วยไมโครเวฟ  ใช้ไฟแรงสุดนาน 1 นาที ประเมินระดับความปวดหลังการนวดด้วย มาตรวัดความปวด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติอนุมานได้แก่ Independent t-test

ผลการวิจัย: พบว่าก่อนการพัฒนา กลุ่มนวดประคบด้วยถุงถั่วเขียวมีคะแนนความปวดไม่ต่างจากกลุ่มนวดธรรมดา  (p = .189) หลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่นวดประคบด้วยถุงถั่วเขียวมีคะแนนเฉลี่ยความปวดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่นวดแบบธรรมดา (P<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความปวดน้อยลง เท่ากับ  1.90  คะแนน  (95% Cl : 1.4, 2.65)

สรุปและข้อเสนอแนะ :จากงานวิจัยดังกล่าวนำไปเป็นทางเลือกหนึ่งของการปฏิบัติการพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ปากมดลูกเปิดเร็ว  เพื่อการบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา  เพื่อลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดของผู้คลอดและญาติและควรนำการวิจัยอื่นที่เกี่ยวกับการบรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอดเช่น  การใช้เสียงดนตรี  การใช้กลิ่นหอมเพื่อช่วยให้การพยาบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ การลดความเจ็บปวด ; นวดประคบหลังด้วยถุงถั่วเขียว; ระยะเจ็บครรภ์คลอด

References

ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.บี. ฟอเรน บุคส์ เซนเตอร์; 2541.

เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. (2555). การเจ็บครรภ์คลอด [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก :www.med.cmu.ac.th

ณัฐพัชร์ จันทรสกา. (2558). การเจ็บครรภ์คลอด [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก :www.med.cmu.ac.th

ธัญญารัตน์ กุลณีจิตต์เมธี. ความปวดและการจัดการความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2560; 6(2) : 158-65.

รังสินี พูลเพิ่ม, อุบลรัตน์ ระวังโค และขวัญเรือน ด่วนดี. ผลของการใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าท้องต่อการลดความ เจ็บปวด และการลดระยะเวลาของระยะปากมดลูกเปิดเร็วในมารดาครรภ์แรก. วารสารพยาบาลทหารบก 2556; 14(3): 67-76.

Melzack, R., & Katz, J.. Pain measurement in persons in pain. In P. D. Wall, & R. Melzack (Eds.), Textbook of pain (pp. 409-426). London: Harcourt Publisher. 1999: 409-26.

วิลาวัลย์ ไทรโรจน์รุ่ง. ผลของการประคบร้อนและเย็นต่อการลดปวดในระยะเจ็บครรภ์. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553.

สุภาพรรณ ทิพย์สัจจะธรรมและไกรสร อัมมวรรธน์. ผลของโปรแกรมนวดบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยต่อความเจ็บปวดในการเจ็บครรภ์คลอด. วารสารบัณฑิตศึกษา 2560; 6(1): 1548-57.

ทัศนีย์ คล้ายขำ, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, นันทนา ธนา โนวรวรรณ, วรรณา พาหุวัฒนกร. ผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อ ความเจ็บปวดและการเผชิญความเจ็บปวดของ ผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2556; 31(2): 38-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01