การเปรียบเทียบความรู้ในการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการสอนสุขศึกษาในผู้ป่วยผ่าตัด ศัลยกรรมกระดูกขณะรอผ่าตัด โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • สวนีย์ นามเพ็ง โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความรู้, การปฏิบัติตัว, ศัลยกรรมกระดูก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Qua-si experimental) แบบ One group pretest posttest design

วัสดุและวิธีการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกในห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ โดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive) จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความรู้ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธีอัลฟาของครอนบาค (Cronbach’alpha coefficient) เท่ากับ 0.74 และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ dependent t – test

ผลการวิจัย: หลังการพัฒนา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อเข้ารับผ่าตัด มากกว่าเมื่อเทียบกับก่อนพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.60 คะแนน (95% Cl :-3.36, -1.83)

สรุปและข้อเสนอแนะ :ควรมีแนวทางในการปฏิบัติตัวก่อนการผ่าตัด เช่น ถอดเครื่องประดับที่เป็นโลหะฝังในร่างกาย   ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ในการสอนสุขศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทางศัลยกรรมกระดูก เช่น ระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ และนำแผนการสอนสุขศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยผ่าตัดศัลยกรรมกระดูกไปปรับปรุงใช้เป็นแนวทางในผู้ป่วยผ่าตัดกลุ่มอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดทางศัลยกรรมทั่วไป ผู้ป่วยผ่าตัดทางสูตินรีเวช ผู้ป่วยนอกที่มารับการผ่าตัดแบบไม่ค้างคืน (one day surgery) เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต่อไป

References

สมศรี เจริญหล้า. ผลของพยาบาลผู้ป่วยแบบเน้นการตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจในระยะหลังผ่าตัดต่อช่วงเวลาที่ต้องการยาแก้ปวดและประสบการณ์การเจ็บปวด [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2525.

นัทธมน วุทธานนท์. การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกศัลยกรรม. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง; 2554.

โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ. สรุปผลงานประจำปี 2561. เอกสารอัดสำเนา; 2561.

Benjamin, S Bloom. ‘Learning for mastery’. Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles 1986; 2: 47 – 62.

บุญธิดา ลิมาพงษ์ภาสและคณะ. 2558. ผลของการสอนก่อนผ่าตัดโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อความรู้และการปฏิบัติตนในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 9(1): 1-7.

คณะเจ้าหน้าที่ตึกสงฆ์อาพาธ รพ.ลำพูน. ประสิทธิผลของประสิทธิภาพของการให้สุขศึกษาในการ ปฏิบัติตัวของผู้ป่วยต้อกระจกที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม.[อินเทอร์เน็ต]. ลำพูน; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก : www.lpnh.go.th/web_nurse/Mini_research/สงฆ์4.ppt.

แก้วใจ ทัดจันทร์และคณะ. 2554. ผลการให้การพยาบาลในการดูแลตนเองหลังการผ่าตัดใหญ่ในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.[อินเทอร์เน็ต]. เพชรบุรี; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก : www.phrachomklao.go.th/hrd/reseaech/54/19.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01