กระบวนการพัฒนาคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม โดยใช้วงจรคุณภาพของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ กิริยะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนาคุณภาพข้อมูล, มาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม, วงจรคุณภาพ(PDCA)

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัญหา กระบวนการพัฒนาคุณภาพข้อมูล และประเมินผลกระบวนการพัฒนาคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มของเครือข่ายสุขภาพจังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research: mutual collaboration approach)  

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบงานข้อมูลและสารสนเทศ ผู้ดูแลระบบ ผู้ให้บริการ ผู้บริหารฯ และผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด 62 คน การวิจัยแบ่งเป็นขั้นเตรียมการ ดำเนินการและประเมินผล ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบสอบถาม และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานโดยใช้ Percentage difference (% difference) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)  

ผลการวิจัย : ก่อนการพัฒนา พบว่า สภาพปัญหาด้านความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม โดยรวม อยู่ในระดับต่ำและปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.8 และ 98.1 ตามลำดับ กระบวนการพัฒนาคุณภาพการจัดการข้อมูลประกอบด้วยการจัดตั้งทีมงาน(Team Building) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Root Cause Analysis) โดยใช้การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ (AIC) การเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา (Set priority) โดยใช้แผนผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram) การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การดำเนินการ (Implementing) และประเมินผล (Evaluating) หลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้ม โดยรวม อยู่ในระดับสูงเพิ่มขึ้น (66.7%) การปฏิบัติอยู่ในระดับดีเพิ่มขึ้น และคุณภาพการจัดคุณภาพข้อมูลด้านความถูกต้อง (Accuracy) เพิ่มขึ้น (0.98%) ความสอดคล้อง (Consistency) (0.46%) ความครบถ้วน (Completeness) (5.36%) และ ความทันเวลา (Timeliness) (0.10%)     

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยในวงรอบต่อไปควรเน้นพัฒนาความรู้และเทคนิคการจัดส่งข้อมูลให้ทันเวลา เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาจากการปฏิบัติงาน หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทีมงาน

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556. เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2555.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. ผลการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้อมูลในระบบบริการสุขภาพ. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2562.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพข้อมูลในระบบบริการสุขภาพด้านการบันทึกข้อมูลผู้มารับบริการและการให้รหัส ICD. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2558.

พิทักษ์พงศ์ พายุหะ. การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนานักยุทธศาสตร์และแผนกำลังคนด้านสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท; 2546.

Riel M. Understanding Action Research [Internet]. CA: Center for Collaborative Action Research Pepperdine University; 2010 [cite 2020 Dec 10]. Available from: https://www.ccarweb.org/what-is-action-research

Streubert HJ., Carpenter DR. Qualitative Research in Nursing:Advancing the Humanistic Imperative. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2003.

Stringer ET. Action Research. 3rd ed. London: Sage Publications; 2007.

อรรถพงษ์ ดีเสมอ. การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลการลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของหน่วยทะเบียนในจังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

Deming in Mycoted. Plan Do Check Act (PDCA) [Internet]. 2004 [cite 2020 Jan 13]. Available from: http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php

รติยา วิภักดิ์, นิรุวรรณ เทรินโบล์, เสฐียรพงษ์ ศิวินา. การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลตามมาตรฐานโครงสร้าง 43 แฟ้มในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560;18(2):69-83.

สุมัทนา กลางคาร, วรพจน์ พรหมสัตยพจน์. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Rovinelli RJ, Hambleton RK.. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 1977;2:49-60.

อุไรวรรณ ตันฑอาริยะ, ทินกร จุลแก้ว. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบฐานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559;25(2):315-23.

ไตรรัตน์ ใบศรี. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2559;27(2):98-107.

วีระวุธ เพ็งชัย. การจัดการคุณภาพฐานข้อมูลการให้บริการวัคซีนตามระบบฐานข้อมูล 18 แฟ้มในสถานีอนามัยอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2555.

โอภาส วงศ์ศิลป์. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 2563;9(1):112-25.

ณัฐมนัสนันท์ ศรีทอง, ปิยะดา ประเสริฐสม. คุณภาพข้อมูลแฟ้มทันตสุขภาพตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2562;24:27-43.

DeLone WH, McLean ER. Information System Success: The Quest for the Dependent Variable. Journal of MIS. 1992;3(1):60-95.

อุดมลักษณ์ เวชชพิทักษ์, ศศิพร โลจายะ, พัชรินทร์ นักธรรม. การพัฒนารูปแบบการจัดการคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตาย จังหวัดปทุมธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2561;8(2): 247-59.

มะลิวัลย์ ยืนยงสุวรรณ. การวิเคราะห์คุณภาพข้อมูลการให้รหัสโรค (ICD-10-TM) ในคลังข้อมูลสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2560;3(2):65-72.

อุไรพร โคตะมี, นิรุวรรณ เทรินโบล์, สุทิน ชนะบุญ. การพัฒนาการบันทึกเวชระเบียนของทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 12(2):1-14.

มาลีวัลย์ ศรีวิลัย. การพัฒนารูปแบบระบบฐานข้อมูลสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขล้านนา.2559;13(1):14-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03