การพัฒนาแนวทางการจัดการวัณโรควิถีใหม่ (New Normal) โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ พิมพ์เรือง โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

โรควัณโรค, การจัดการ, การพัฒนา, วิถีใหม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินแนวทางการจัดการวัณโรคในวิถีใหม่ โรงพยาบาล     จตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็น 2 วงรอบ ได้แก่ วงรอบแรกเป็นการพัฒนาแนวทาง    การจัดการวัณโรคในวิถีใหม่ (New Normal) โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสำรวจสภาพปัญหาจากกลุ่มเป้าหมาย วงรอบที่ 2 เป็นการนำแนวทางการจัดการวัณโรคในวิถีใหม่ไปสู่การปฏิบัติโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรค พี่เลี้ยง และเครือข่าย จำนวน 150 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : แนวทางการจัดการวัณโรควิถีใหม่ ประกอบด้วยขั้นตอน (1) การทบทวนวรรณกรรม (2) การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยวัณโรคที่รักษาหายแล้ว และผู้ป่วยวัณโรคที่อยู่ระหว่างการรักษา (3) การร่างแนวทางการดูแลผู้ป่วย (4) การพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วย และ (5) การนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติและประเมินผล  ส่วนผลการประเมินแนวทางพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคมีคะแนนความรู้และการรับรู้ความสามารถเกี่ยวกับวัณโรค โดยรวมเพิ่มขึ้น 5.77%, 7.45% พี่เลี้ยงกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับวัณโรคโดยรวม 9.45%, 9.45% เครือข่ายของผู้ป่วยวัณโรคมีความรู้และการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับวัณโรค โดยรวมเพิ่มขึ้น 17.16%,  3.34% ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ ผู้ป่วยวัณโรค  พี่เลี้ยงและเครือข่ายมีคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติตามแผนการรักษาเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำแนวทางนี้ไปดำเนินการในพื้นที่ต่อไป

References

ไพฑูรย์ อุ่นบ้าน.การพัฒนาระบบการดูแลรักษาวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นแบบมีพี่เลี้ยง (DOTS) ของโรงพยาบาลแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2562;12(1):23-36.

กระทรวงสาธารณสุข.วัณโรคTuberculosisรู้เร็ว/รักษาหาย/ไม่แพร่กระจาย [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 7 ตุลาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: http://www.saintlouis.or.th/article/show/TuberculosisTB_23-2-2017-8:32

พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จในการทำ DOTระดับอำเภอให้มีคุณภาพและยั่งยืน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัดวิกฤต. 2558.35(2):67-71.

จุฬาวรรณ จิตดอน, วนิดา ดุรงฤทธิชัย, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. การพัฒนาแนวทางการเยี่ยมบ้าน ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่รักษาด้วยระบบยาระยะสั้น อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2560;20.(40):1-11.

โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. กลุ่มการพยาบาล. สรุปผลผู้มารับบริการด้วยโรควัณโรคประจำปีงบประมาณ 2563. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการตรวจคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคจากผู้เดินทางซึ่งมาจากท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักร [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file /im_ commands/im_commands09.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:กรมควบคุมโรค; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php

กิตศราวุฒิ ขวัญชารี, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ,กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ ในผู้ป่วยเบาหวานของประเทศไทย: การวิเคราะห์เมตา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น.2559;23(3):1-11.

จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน, ผลิน กมลวัทน์, พาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ์, เพชรวรรณ พึ่งรัศมี, วรรัตน์ อิ่มสงวน, สุรสิทธิ์ บุพชาติ และคนอื่นๆ.หลักสูตรและประมวลรายวิชา การสื่อสารเพื่อเพิ่ม ความครอบคลุมในการค้นหาผู้สัมผัสวัณโรค [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2563]. เข้าถึง ได้จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/12287

ปาจรีย์ ตรีนนท์,พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2557;20(1):50-66.

วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร, สรญาแก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2561;25(1):9-90.

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางดูแลผู้ป่วยวัณโรค [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น:2561. [เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.jvkk.go.th:8080/web_jvkk_th/index.php/viewnew/form/detail_id/1633

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30