ผลของการติดตามการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ ณ คลินิกเอชไอวี โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ภมร กงภูเวศน์ โรงพยาบาลเสลภูมิ

คำสำคัญ:

การทำงานของไต, ผู้ป่วยเอดส์, ยาทีโนโฟเวียร์, โรคเอดส์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไตศึกษาโอกาสในการเกิดความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการเกิดภาวะของไตบกพร่อง ในกลุ่มผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์

รูปแบบการวิจัย:การวิจัยเชิงวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study)

วัสดุและวิธีการวิจัย :ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมดที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์เป็นครั้งแรก ณ คลินิกเอชไอวี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 รวบรวมข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเสลภูมิวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และPearson Chi-Square Tests

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ทั้งหมด 319 ราย มีจำนวน 59 ราย (18.49%) มีการลดลงของค่า eGFRมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 25 ของค่าเริ่มต้น (eGFR-D25) โดยมีระยะเวลาการได้ยาเฉลี่ย 31.08 เดือน อายุเฉลี่ย 48.10 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 36 ราย (61.00%) น้ำหนักน้อยกว่า 60 กิโลกรัม จำนวน 34 ราย(57.63%) เป็นผู้ป่วยที่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีมาก่อน จำนวน 34 ราย (57.60%) และมีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคร่วม จำนวน 14 ราย (63.64%) เมื่อพิจารณาจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ร่วมกับตัวแปรด้านประวัติการได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีพบว่า เป็นผู้ป่วยที่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิดอื่นมาก่อน (Experience) มีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่อง 1.20 เท่าของกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิดอื่นมาก่อน (Naive) ผู้ป่วยจำนวน 59 ราย ที่มีการลดลงของค่า eGFRมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 25 ของค่าเริ่มต้น (eGFR-D25) พบว่าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับ eGFRเริ่มต้น 30-59 ml/min/1.73 m2 (Moderate renal impairment) จากจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 8 ราย พบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย (100.00%) มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่อง (Relative risk) มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับ eGFRเริ่มต้นสูงกว่า 60 ml/min/1.73 m2 ถึง 6.09 เท่า(p=.001)

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการวิจัยนี้พบว่า การให้ยาทีโนโฟเวียร์แก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่องเพิ่มขึ้นและมี Incidence rate 8.3 per 100 person-year พบระยะเวลาเฉลี่ยของการได้รับยาทีโนโฟเวียร์ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่องเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 31เดือนกลุ่มผู้ป่วยที่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิดอื่นมาก่อน มีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่อง 1.20 เท่าของกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีชนิดอื่นมาก่อนและการเริ่มให้ยานี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับ eGFR เริ่มต้นต่ำกว่า 60 ml/min/1.73 m2 มีโอกาสเกิดความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่องได้สูงถึง 6.09 เท่า (p=.001)

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค.สำนักโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2560.

มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. สุขภาพคนไทย 2562: สื่อสังคม ส่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง; 2562.

วิศิษฎ์ ตันหยง, พีรยศ ภมรศิลปะธรรม, ฉัตชัย ฉิ่นไพศาล. ทีโนโฟเวียร์และพิษต่อไตระดับเซลล์.ว.วิทยาศาสตร์บูรพา 2560;22(2):248-59.

จุฑารัตน์ ศศิวชิรางกูล. Tenofovir Disoproxil Fumarated (TDF) และ Tenofovir Alafenamide Fumarated (TAF). วารสารเพื่อการวิจัยเเละพัฒนา องค์การเภสัชกรรม 2561;25(1):20-2.

กระทรวงสาธารณสุข.กรมควบคุมโรค. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2563/2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟ ฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

Ray AS, Fordyce MW, Hitchcock MJ. Tenofovir Alafenamide Fumarate: A novel prodrug of tenofovir for the treatment of Human Immunodeficiency Virus. Antiviral Research. 2016;125:63-70.

รชานนท์ หิรัญวงษ์. การเฝ้าระวังผลต่อไตจากการใช้ยาเทโนโฟเวียร์ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีโรงพยาบาลบางละมุง. ข่าวสารด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ. 2555;15(4):117-122.

อัญชลี อวิหิงสานนท์, ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, อุบัติการณ์ของการเกิดโรคไตจากยา ทีโนโฟเวียร์และการศึกษาทางด้านเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพันธุศาสตร์ของยาทีโนโฟเวียร์ในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Pauline P., Clément G. Jérôme V., Jean-Michel M. Tenofovir disoproxil fumarate-induced Fanconi’s syndrome during HIV post exposure prophylaxis. AIDS. 2016;30(8):1311-13.

Jose L. Casadoa, et al. Prevalence and significance of proximal renal tubular abnormalities in HIV-infected patients receiving Tenofovir. AIDS. 2016;30(8):231–39.

วรรณิยา มีนุ่น. Glomerular Disease in HIV Infected Patients. วารสารกรมการแพทย์. 2558;40:25-35.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลศรัตน์. ความรู้เรื่องโรคไตสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เฮลธ์เวิร์ค; 2556.

Rinaldo Bellomo, et al. Acute renal failure – definition, outcome measures, animal models, fluid therapy and information technology needs: the Second International Consensus Conference of the Acute Dialysis Quality Initiative (ADQI) Group. Crit Care. 2004;8(4):204–12.

SungkanuparphS,Powderly WG. Why should we have tenofovir in Thailand [letter]. J Infect Dis Antimicrob Agents. 2004;(21):75-7.

เกศรินทร์ชัยศิริ. ความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี.[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ศิริวิทย์ อัสวัฒิวงศ์. ยาเทโนโฟเวียร์และความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่องในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ โรงพยาบาลกระบี่. ว. กระบี่เวชสาร 2560;1:36-43.

Hui Moon Koh and Suresh Kumar. Tenofovir-induced nephrotoxicity: A retrospective cohort study. Med J Malaysia 2016;71(6):308-12.

Ryan D. Cooper, et al. Systematic Review and Meta-analysis: Renal Safety of Tenofovir Disoproxil Fumarate in HIV-Infected Patients. Clinical Infectious Diseases 2010;51(5):496–505.

Ketan K. Patel, et al. Tenofovir- associated renal dysfunction in clinical practice: An observational cohorm from western India. Indian J Sex Transm Dis. 2010;31(1):30–34.

Giordano M, Bonfanti P, De Socio GV, Carradori S, Grosso C, Marconi P, et al. Tenofovir renal safety in HIV-infected patients: Result from the SCOLTA Project. Biomedicine & Pharmacotherapy. 2008;(62):6-11.

Goicoechea M,Liu S, Best B,Shelly,Jain S, Kemper C,et al. Greater tenofovir-associated renal function decline with protease inhibitors-based versus nonnucleoside reverse-transcriptase inhibitors-based therapy. J Infect Dis. 2008;(197):102-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30