ผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนเพิ่มสุขตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กมนนัทธ์ สารกุล นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

คำสำคัญ:

โรงเรียนเพิ่มสุข, การเสริมพลังอำนาจ, การดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมโรงเรียนเพิ่มสุขตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ

รูปแบบการวิจัย:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ออกแบบการวิจัยเป็นแบบศึกษาสองกลุ่มวัดสองครั้ง (The Pretest-Posttest Design with Non-Equivalent Groups)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะอึ ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 45 คน รวม 90 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดกิจกรรมโรงเรียนเพิ่มสุขตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจและแผนการจัดกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง และแบบวัดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย:หลังการทดลองพบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวม  มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 9.64 คะแนน (95%CI; 8.54, 10.74) และผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวม มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) มีคะแนนเฉลี่ยทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.37 คะแนน (95%CI; 1.13, 1.61)

สรุปและข้อเสนอแนะ:  ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมโรงเรียนเพิ่มสุขส่งให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการสังคม: แนวคิดและวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. การใช้ Genogram/Family Tree ในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. เอกสาร คำสอนวิชา สค.223 หลักและวิธีการสังคมสงเคราะห์ 1. ภาค 2/2555 หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555.

National Statistical Office Ministry of Information and Communication Technology. The 2014 Survey of the older persons in Thailand. Bangkok : Text and Journal Publication Co., Ltd ; 2014.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะอึ. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด, 2562.

ไพโรจน์ มะกล่ำดำ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 10(1): มกราคม - มิถุนายน 2558 ; 20-39.

รุจิรางค์ วรรณ์ธนาทัศน์. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ และการรับรู้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.ของ ผู้สูงอายุ จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขภาพภาคประชาชน.12 (1): ธันวาคม 2559-มกราคม 2560 :17- 29.

วลัยนารี พรมลาและจีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 4(2): กรกฎาคม- ธันวาคม 2561; 59-67.

ธนพงษ์ เทศนิยม, นิภา มหารัชพงษ์, บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และศศิธร สกุลกิม. ผลของโปรแกรม การส่งเสริมความสามารถของตนเองต่อการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในอำเภออู่ทอง จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 44(4): กรกฎาคม - สิงหาคม 2562; 90-95.

กุนนที พุ่มสงวน. การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ : บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 15 (3): กันยายน- ธันวาคม 2557; 86-90.

Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empower-ment. Journal of Advanced Nursing, 16 : 354-361.

Ellis-Stoll, C., & Popkess-Vawter, S. (1998). A concept analysis on the process of empowerment. Journal of Advanced Nursing 21(2) : 62-68

Kieffer, C. Citizen empowerment: a develop-mental perspective. In (eds.) J. Rappaport, C. Swift and R. Hess. Studies in empower-ment: Steps toward understanding and action. Binghamton: The Haworth Press., 1984.

Kanter, R. M. Frontiers of management. United States of American : A Harvard Business Review Book, 1997.

Polit, D. F., & Beck, C. T. Essentials of nursing research: Appraising evidence for nursing practice (8th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer, 2014.

Hastings, E. C., & West, R. L. (2009). The relative success of a self-help and a group-based memory training program for older adults. Psychology and Aging, 24(3), 586–594.

Polit, D.F. and Beck, C.T. Nursing Research, Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 8th Edition, Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, Philadelphia, 2008.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. การเลือกตัวอย่าง และการอนุมานด้วยสถิติ . วารสารวิชาการสาธารณสุข 14 (5): กันยายน-ตุลาคม 2548; 739-740.

วิจินตา พวงสอาด. ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลัง อำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

วาสนา มากผาสุก. ผลของโปรแกรมการจูงใจเพื่อป้องกันต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเสี่ยง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551.

รัตติกาล พรหมพาหกุล, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และกีรดา ไกรนุวัตร. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลศาสตร์. 38(2): April - June 2020; 32-45.

เอกภพ จันทร์สุคนธ์ และอนงค์นาฏ คงประชา. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2(1): มกราคม - เมษายน 2560 : 24-34.

Gibson, C. H. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 1995. 23. Orem, D. E. Nursing: Concepts of practice (4th ed.). St. Louis, MO: C. V. Mosby, 1991.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31