ผลการใช้การพัฒนาโปรแกรมผู้จัดการรายกรณี สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเมืองสรวง
คำสำคัญ:
ผลการใช้โปรแกรมผู้จัดการรายกรณี, เบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการพัฒนาโปรแกรมผู้จัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลเมืองสรวง
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบแผนการทดลองขั้นต้น (Quasi - experimental design) แบบ One group pre-test post-test design
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลเมืองสรวง จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมพบผู้จัดการรายกรณี และแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .67 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test
ผลการวิจัย: หลังการพัฒนาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่เข้าร่วม การใช้โปรแกรม พบผู้จัดการรายกรณี มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นมากกว่า ก่อนการพัฒนา (p<.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 6.80 คะแนน (95% CI: 4.04, 9.55) ; คะแนนเจตคติต่อโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น มากกว่า ก่อนการพัฒนา (p<.001)โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 10.33 คะแนน (95% CI: 9.08,11.57) และคะแนนการดูแลตนเองเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001)โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 12.19 คะแนน (95% CI: 11.61,20.11) และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงน้อยกว่าก่อนการพัฒนา (p<.001)โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเท่ากับ 53.37 คะแนน (95% CI: 44.30,56.71)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมผู้จัดการรายกรณีฯ ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาระดับน้ำตาลไม่ได้มีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำโปรแกรมนี้ไปดำเนินการในพื้นที่
References
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศ ไทย : นโยบาย สู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. การศึกษาสมรถนะและทักษะการจัดการรายกรณีของพยาบาลผู้จัดการราย กรณีโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2560; 28(1): 14-25.
อุษา นักเทศ. ผลของโปรแกรมการจัดการรายกรณีต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับไว้ในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.
อนุชา คงสมกัน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวานโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสุขศึกษา 2555; 35 (120): 62-73.
ยุวดี เกตสัมพันธ์. การจัดการผู้ป่วยรายกรณี [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: 2555 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tmchnetwork.com/sites/default/files/Case%20management.pdf
ศิริอร สินธุ. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. ใน: ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอต, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง