รูปแบบการมอบหมายงานพยาบาล หอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • บุษบา วงค์พิมล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • พนิดา สุทธิประภา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • วิภาวดี วโรรส โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • จุฑาภรณ์ เพิ่มพูล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

มอบหมายงาน, พยาบาลอายุรกรรม, รูปแบบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานพยาบาล หอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: ผู้ร่วมวิจัย เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลระดับปฏิบัติ ดำเนินการวิจัย 3 ระยะคือ 1) ศึกษาสถานการณ์  2) ดำเนินการ และ3) ประเมินผล เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวคำถามสำหรับสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม แบบประเมินผลการปฏิบัติ แบบประเมินความ     พึงพอใจ และแบบบันทึกความคลาดเคลื่อนทางยา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแบบปรนัย

ผลการวิจัย:  พบว่า 1) สถานการณ์การมอบหมายงานพยาบาล พบประเด็นปัญหาและความต้องการพัฒนา 5 ด้านคือ ด้านสมรรถนะบุคลากรพยาบาล บทบาทหน้าที่ในทีมการพยาบาล การจัดพื้นที่บริการผู้ป่วย การประเมินการปฏิบัติการพยาบาล และด้านบริหารความเสี่ยงทางการพยาบาล 2) กระบวนการพัฒนา 5 ขั้นตอนได้แก่ สร้างความตระหนัก สร้างการมีส่วนร่วม สร้างทีมพัฒนา นำร่องในหอผู้ป่วยตัวอย่าง และขยายการพัฒนาไปยังหอผู้ป่วยอื่นได้รูปแบบการมอบหมายงานพยาบาลแบบรายกรณี (Case method) ผสมผสานแบบทีม (Team method) 3) ประเมินผลพบว่า พยาบาลปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติการมอบหมายพยาบาลที่สร้างขึ้น (92.80 %) และพึงพอใจต่อรูปแบบใหม่ (83.20%) ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง (0.53%)

สรุปและข้อเสนอแนะ: รูปการมอบหมายงานพยาบาลแบบรายกรณีผสมผสานแบบทีมเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทการพยาบาลอายุกรรม สามารถปฏิบัติได้จริง เอื้อต่อการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยมากขึ้น

References

Hicks L, Stallmeyer J, Coleman J. Role of the nurse in managed care. Washington, DC: American Nurses Association; 1993.

ฐิรพร อัศววิศรุต, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, รุ้งรังษี วิบูลย์ชัย. การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลยโสธร วารสารกองการพยาบาล 2557; 14(2): 54-71.

Sullivan EJ, Decker PJ. Effective leadership & management in nursing 6th ed. U.S.A: Pearson Education; 2005.

สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. ปัญหาพยาบาลไทย ‘ขาดแคลน-กลไกรัฐไม่เอื้อดึงพยาบาลอยู่ในระบบ’ [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2016/04/11994.

เรณู พุกบุญมี วิกฤติขาดแคลนพยาบาลในไทย[อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุขไทย; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2016/04/11994.

Schoener BCH. The effect of the clinical staff assignment model on perceived responsibility, autonomy, team membership, role relationships and job satisfaction 2000.

Allen SB. The nurse -patient assignment: purpose, decision factors and steps of the process: Partial fulfillment of the requirements for the degree of doctor of philosophy in nursing science college of nursing, university of South Carolina, USA 2012.

Acar I. A decision model for nurse-to-patient assignment: partial fulfillment of the requirements for the degree of doctor of philosophy Western Michigan University, USA 2010

Sir MY, Dundar B, Barker Steege LM, Pasupathy KS. Nurse-patient assignment models considering patient acuity metrics and nurses' perceived workload. J Biomed Inform 2015; 55: 237-48

สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิแลระดับตติยภูมิ. นนทบุรี; 2548.

Roi-Et Hospital. Nursing Department. Inspact Nurse Program. Roi-Et: Hospital; 2019. (in Thai)

Marram,G. et al. Primary Nursing : A model for Individualized Care. St. Louis : The C.V. Mosby company; 1974.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล(ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3 นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

Kemmis, S., & McTaggert, R. The Action Research Planner Geelong. Deakin University Press; 1990.

ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา, พูลสุข หิงคานนท์. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระบบบริการพยาบาล การพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล หน่วยที่ 7. นนทบุรี: โรงพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2549.

สถาบันพระปกเกล้า. เทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม: วิธีการเอื้ออำนวยการโดยใช้กระบวนการกลุ่มขั้นพื้นฐาน โดยการแปลจาก Technology of participation basic group facilitation methods manual for course participation by Gerry Roxas Foundation: TOP; 2550.

วิรัติ ปานศิลา. การอบรมโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพอำเภอ ด้านการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชน. สงขลา: สถาบันพระปกเกล้า; 2557.

จิรภัค สุวรรณเจริญ. ผลของการใช้ระบบพยาบาลเจ้าของไข้ในหน่วยงานห้องคลอดและหลังคลอดต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพและความพึงพอใจต่อบริการของผู้รับบริการโรงพยาบาลชุมพร. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.

สิริพร สังคะสุข. ผลการใช้รูปแบบการมอบหมายงานเป็นทีมพยาบาลต่อความรับผิดชอบในวิชาชีพการพยาบาล และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31