บทเรียนการดำเนินงานเยี่ยมบ้านของจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา ลัพธวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

บทเรียน, งานเยี่ยมบ้าน, จังหวัดปัตตานี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานเยี่ยมบ้านในจังหวัดปัตตานี

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed Method)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับผิดชอบงานเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดปัตตานี จำนวน 154 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย: ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 134 ราย (88.00%) ผลการดำเนินงานเยี่ยมบ้านตามกรอบแนวคิดระบบสุขภาพ 6 ด้าน พบ (1) นโยบายดูแลสุขภาพแบบองค์รวม/เชิงรุก (31.00%) (2) มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคเพียงพอ/พร้อมใช้ (65.00%) (3) เยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ (54.00%) (4) มีการให้คำปรึกษาทางไลน์แอพพลิเคชั่น (69.00%) (5)ใช้โปรแกรมเยี่ยมบ้าน (50.00%) และ (6) มีการดำเนินการในขั้นตอนก่อนเยี่ยมบ้าน (63.00%) จากการสนทนากลุ่ม พบว่า (1) ผู้รับผิดชอบงานเยี่ยมบ้านมีความคาดหวังให้ระบบเยี่ยมบ้านมีคุณภาพ ประชาชนได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างครอบคลุม  (2)ปัจจัยแห่งความสำเร็จของงานเยี่ยมบ้าน คือ เจ้าหน้าที่มีความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วย เข้าใจบริบทพื้นที่ ทีม      สหวิชาชีพให้ความร่วมมือ มีระบบให้คำปรึกษา/ส่งต่อและมีโปรแกรมสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ       มีระบบกำกับ/ติดตามโดยใช้ศูนย์ดูแลต่อเนื่องผู้นำชุมชน  และเครือข่ายต่างๆ ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนงบประมาณ

สรุปและข้อเสนอแนะ : การเยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินงานสาธารณสุข ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี  ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับจึงควรให้ความสำคัญ โดยการสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งมีระบบควบคุมกำกับ ติดตาม และการประสานงานที่ดี

References

เพ็ญศิริ อัตถาวงศ์, นิษฐนันท์ อนุสรณ์ประเสริฐ, ฮารูน สาดหลี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1) :73 – 85.

ธีระ วรธนารัตน์. วารสารสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 2559; 36(1-3): 15 - 17.

สมภาร ศิโล. ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนา วิชาการในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31