ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวล และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจก

ผู้แต่ง

  • ทิพาภัทร เอกวงษา โรงพยาบาลธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การวางแผนจำหน่าย, ความวิตกกังวล, ความสามารถในการดูแลตนเอง, การผ่าตัดต้อกระจก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความวิตกกังวลและความสามารถในการดูแลตนเองในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยต้อกระจกที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกที่โรงพยาบาลธวัชบุรีอำเภอธวัชบุรี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความวิตกกังวล และ แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ Paired t-test

ผลการวิจัย: หลังการทดลอง พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลโดยรวมน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p< .001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลโดยรวมน้อยกว่าเท่ากับ 34.272 คะแนน (95% CI; 32.186, 38.358) และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองก่อนจำหน่ายกลับบ้านโดยรวม มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลตนเองก่อนจำหน่ายกลับบ้านโดยรวมมากกว่าเท่ากับ 1.51 คะแนน (95% CI; 1.364, 1.656) 

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ลดความวิตกกังวล และความสามารถในการดูแลตนเองก่อนจำหน่วยกลับบ้านเพิ่มขึ้น

References

วัลลภ เอี่ยมสมบูรณ์. การดูแลดวงตาของผู้สูงอายุ. ใน: สายัณห์ สวัสดิ์ศรี และคณะ, บรรณาธิการ. คลินิกชายวัยทอง. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์เอ็นไพรช์ จำกัด; 2545.

พัฒพงษ์ กุลยานนท์, วัฒนีย์ เย็นจิตร, ฉวีวรรณ เย็นจิตร, ชัยรัตน์ เต็งไตรรัตน์, วีรศักดิ์ อนุตรอังกูร, สุดารัตน์ นเรนทร์พิทักษ์. ต้อกระจก: ภาระโรคที่สำคัญของประเทศไทย. จักษุสาธารณสุข 2007; 21: 136-61.

ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์. ภาวะสายตาเลือนราง: หลักการทั่วไป. ใน: ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, ณัฐพล วงษ์คำช้าง, ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์, บรรณาธิการ. ตำราสายตาเลือนราง การดูแลรักษา และฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.

Houde Susan Crocker, Martha A. Huff. Age-related vision loss in older adults: A Challenge for gerontological nurses. Journal of gerontological nursing 2003; 29(4): 25-33.

ภารดี นานาศิลป์. ต้อกระจก: การดูแล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2543.

Rorden JW,Taft E. Discharge planning guide for nurses. Philadelphia: W.B. Saunders. 1990.

วรรณชนก จันทชุม. การวิจัยทางการพยาบาล: การเลือกตัวอย่างและการกำหนดขนาดตัวอย่าง. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2545.

ปรัศนีย์ พันธุ์กสิกร, ศิริลักษณ์ กิจศรีไพศาล. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก. วารสารสภาการพยาบาล 2563; 35(4): 84-98.

Spiel Berger C.D. Anxiety and Behavior. New York: Academic Press. 1966.

มาลาตี รุ่งเรืองศิริพันธ์. ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคลตามแนวโรเจอร์สที่มีต่อความวิตกกังวลของเด็กหญิงที่ถูกล่วงเกินทางแพทย์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

นันทินี ศุภมงคล. ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

Wright L. M., & Bell, J. M. Beliefs: The heart of healing in families and illness. New York: Basic Books. 1996.

Clinch J.J. & Keselman, H.J. Parametric alternatives to the analysis of variance. Journal of educational statistics 1982; 7(3): 207-14.

Cochran W.G. & Cox, G.M. Experimental Design. New York: John Wiley and Sons. 1976.

สุชา ปาน้อยนนท์, อุษาวดี อัศดรวิเศษ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความพึงพอใจต่อการดูแลสตรีที่ได้รับการผ่าตัดก้อนบริเวณเต้านม [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

Pager CK. Randomized controlled trial of preoperative information to improve satisfaction with cataract surgery. Br J Ophthalmol. 2005; 89(1): 10-3.

เบญจวรรณ พวงเพชร, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. Journal of Nursing Science 2016; 34(1): 53-62.

ผุสดี บรมธนรัตน์. ผลของการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ต่อการลดความวิตกกังวลและการลดภาวะแทรกซ้อน ขณะผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2559; 30(3): 130-7.

ลุนนี จิ่มอาษา, วัลลภา ช่างเจรจา. ผลของโปรแกรมการเตรียมผ่าตัดต่อความวิตกกังวลและภาวะแทรกซ้อนในการผ่าตัดต้อกระจก แผนกจักษุ โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2563; 4(7): 75-87.

Guo Ping, Linda East, Antony Arthur. A preoperative education intervention to reduce anxiety and improve recovery among Chinese cardiac patients: a randomized controlled trial. Internation Journal of nursing studies 2012; 49(2): 129-37.

อรุณรัตน์ รอดเชื้อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลราชวิถี.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2555; 28(2): 1-12.

อุบล จ๋วงพานิช, ณัฎฐ์ชญา ไชยวงศ์, จุรีพร อุ่นบุญเรือน. ผลของการใช้โปรแกรมวางแผนจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2551; 15: 32-42.

กนกพร อริยภูวงศ์, ศุภพร ไพรอุดม, ทานตะวัน สลีวงศ์. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลสุโขทัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562; 2(3): 17-30.

ดิเรก ผาติกุลศิลา. โรคต้อกระจก (Cataract). ใน: สมสงวน อัษญคุณ, ประภัสสร ผาติกุลศิลา,นภาพร คนานุวัฒน์, ดิเรก ผาติกุลศิลา, เกษรา พัฒนพิฑูรย์, บรรณาธิการ. โรคตาที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ. เชียงใหม่: ภาคจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

จิรพล สุโภคเวช. (2558). โรคต้อกระจกคือโรคอะไร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: file://C:Documents and SettingsuserDesktopรู้เท่าทัน…โรคต้อกระจก (Cataract).html.

สุธัญญา นวลประสิทธิ์, พวงเพชร วุฒิพงศ์. ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์โปรแกรมการดูแลตนเองต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยตาต้อกระจกและญาติ. วารสารสภาการพยาบาล 2552; 25(2): 78-86.

จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะด้ำ, เขมริฐศา เข็มมะลวน. ความรู้ความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดต้อกระจก. วารสารหาดใหญ่วิชาการ 2558; 13(1): 35-45.

พรทิพย์ มงคลสวัสดิ์. การพัฒนารูปแบบการบริการการผ่าตัดผู้ป่วยโรคต้อกระจกแบบไม่พักค้างคืนโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558; 12(1): 71-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31