การวิจัยประเมินผลโครงการอบรมปฏิบัติการและตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง ของลักษณะงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
คำสำคัญ:
ตรวจสุขภาพ, ความเสี่ยง, อาชีวอนามัยและความปลอดภัยบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้และตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของลักษณะงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และประเมินความพึงพอใจต่อโครงการอบรมปฏิบัติการฯ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวาง (Cross – sectional description research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร ที่ปฏิบัติงานเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1.ลักษณะทางประชากร 2. แบบทดสอบความรู้การป้องกันอันตรายตามความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย 3. แบบสอบถามพฤติกรรมสภาวะสุขภาพจากการทำงาน 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธี อัลฟาครอนบาค ด้านความรู้เท่ากับ 0.75 ด้านเจตคติเท่ากับ 0.78 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Dependent t-test
ผลการวิจัย: หลังการพัฒนา พบว่าบุคลากรมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.04 (95%Cl; -1.30, 0.77) ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมอบรมของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (Mean=2.73)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการดูแลสุขภาพตามความเสี่ยงของลักษณะงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยส่งผลให้เกิดการเตรียมความพร้อมในการทำงานของบุคลากรที่มีความเสี่ยง และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการทำงานได้
References
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2553).ความปลอดภัยจากการทำงาน. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2553 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/index
สรัญญา กุลวงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อจากการให้บริการทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลจังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี; 2552.
อัครชาติ ติณสูลานนท์. ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัย ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาในสายงานธุรกิจวิศวกรรม ธุรกิจก่อสร้างและบำรุงรักษา. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546.
Benjamin SB. Learning for mastery. Evaluation comment Center for the study of Instruction program. University of California at Los Angeles 1986 ; 2: 47-62. 5. Pender NJ. Health promotion in Nursing Paractice. 2nd ed. Stamford, CT : Appleton & Lange. 1987.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง