การพัฒนารูปแบบการดูแลและป้องกันโรคไตเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลและป้องกันโรคไตเรื้อรัง, แบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลและป้องกันโรคไตเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และเปรียบเทียบความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและป้องกันโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบปฏิบัติการ (Action-Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2560 – 31 มีนาคม 2561 จำนวน 63 คน การสุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive) ผ่านการขอพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อผ่านการอนุมัติจริยธรรม ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนขั้นที่ 1 การอบรมแกนนำชุมชนในเรื่องความรู้การจัดการโรคไตเรื้อรัง ขั้นที่ 2 การประเมินความรู้ และพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ขั้นที่ 3 อบรมความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพ ขั้นที่ 4 การสรุปบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลและใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Dependent-t test
ผลการวิจัย: จากกลุ่มตัวอย่าง 63 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (74.60%) มีอายุมากกว่า 50 ปี (69.80%) อาชีพเกษตรกรรม (76.20%) การศึกษาระดับประถมศึกษา (47.60%) ผลการศึกษามีดังต่อไปนี้
- กลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ก่อนให้ความรู้เท่ากับ 11.11 และหลังการให้ความรู้เท่ากับ 13.79 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้ หลังการให้ความรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- กลุ่มป่วยโรคเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมก่อนให้ความรู้เท่ากับ 26.58 และหลังการให้ความรู้เท่ากับ 29.07 เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรม หลังการให้ความรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ สร้างกระแส ป้องกันโรคไตและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในชุมชนโดยบูรณาการงานตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรังร่วมกับการประเมินคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อป้องกันชะลอไตเรื้อรังในคลินิกโรคเรื้อรังและในชุมชน
References
จิราภรณ์ ชูวงศ์, เจียมจิต โสภณสุขสถิต. ผลของการให้ความรู้ทางด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วย ไตเทียม. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2554 ; 5(2) : 41-50.
สุนีรัตน์ สิงห์คํา. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาการดูแล ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยการเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชน อําเภอแกดํา. [วิทยานิพนธ์]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ; 2558.
กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนา รูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ สุดท้าย ที่ได้รับการบําบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการ ดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตผู้ป่วย โรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนา สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559 ; 4(4) : 485-503.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง