ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ที่มีต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)
คำสำคัญ:
ผลการดูแล, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่, ความรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- experimental research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนและรับบริการที่โรงพยาบาลเชียงขวัญ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก จำนวน 161 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย: หลังการทดลอง พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 7.27 คะแนน (95%CI; 6.03, 8.49) ; คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง (p= .04) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 2.63 คะแนน (95% CI; 1.77, 3.49) และ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง (p<.001) โดยมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c) ลดลง เท่ากับ 1.29 % (95% CI; 0.98, 1.59)
สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการดูแลผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่โดยใช้กระบวนการที่เข้มข้นทำให้บุคลากรได้ร่วมกันวิเคราะห์ผู้ป่วยและร่วมกันแก้ไขปัญหากับผู้ป่วยครอบครัวเป็นรายบุคคล และติดตามเยี่ยมบ้านในชุมชน ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจ มีความเชื่อมั่นในความสามารถ และการตัดสินใจเลือกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนส่งให้ผลลัพธ์ทาง Clinical ดีขึ้น
References
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.กลุ่มงานสื่อสารสังคม.ผนึกแผนโลก-ระดมแผนชาติสร้าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพคนไทย. นนทบุรี: สำนัก; 2561.
ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ในประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.at/agivL
ปกาศิต โอวาทกานนท์. ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสำคัญกับการไม่สามารถควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์วารสาร 2554; 26(4): 339-49.
ธเนศวุฒิ สายแสง, วีระศักดิ์ จิตไธสง, กนกรัศมิ์ สุทธิประภา, สุวรรณา ภัทรเบญจพล. ความฉลาดทาง สุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการสถานพยาบาลปฐมภูมิจังหวัดอุบลราชธานี.ใน The 6th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2014“A Celebration of 100 years of Thai Pharmacy and 20 Years of UBU Pharmacy” Faculty of Pharmaceutical Sciences, Ubonratchathani University, Thailand; 1-2 กุมภาพันธ์ 2557; คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี; 2557.
World Health Organization (WHO). Health Promotion Glossary [Internet]; 1998 [cited 2020 March 1].Available form: https://www.who.int/healthpromotion/about/HPG/en/
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การนำความฉลาดทางสุขภาพไปปฏิบัติงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยสาธารณสุข ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น2558, 8(2); 68 -75. 7.ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ (Health literacy)ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุน บริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อ พฤติกรรมจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้[วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.
มยุรี เที่ยงสกุล, สมคิด ปานประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาล สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(4): 696-710.
อนุชา วรหาญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลเลาขวัญ. วารสารศูนย์อนามัยที่9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;12 ( 27) : 5-22.
อารยา เชียงของ. ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มี ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.
วรรณรัตน์ รัตนวรางค์, วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี นครราชสีมา 2561; 24(2): 34-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง