การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอโพนทอง

ผู้แต่ง

  • พนิดา พ้องเสียง โรงพยาบาลโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาด, กลุ่มเสี่ยง, อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (EMR), อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), การเข้าถึงบริการ, รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอโพนทอง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และ อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (EMR) จำนวน 110 คน ซึ่งได้มาจากเลือกแบบจำเพาะเจาะจง การเก็บข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แบบบันทึก และแบบสังเกต ดำเนินการศึกษาตั้งแต่มกราคม-กรกฎาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: พบว่า  รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย  2) จัดทำ Warning Signs  3) ดำเนินการและ 4) ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลุ่ม EMR และ อสม. มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ทักษะกระบวนการการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน พบว่าทักษะที่ทำได้ดีมาก กลุ่มเสี่ยงยังมีการเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินน้อย และไม่ทราบอาการผิดปกติของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ต้องรีบมาพบแพทย์และได้รูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในกลุ่ม อสม. EMR และกลุ่มเสี่ยง

สรุปและข้อเสนอแนะ: จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ อสม. EMR และกลุ่มเสี่ยง มีความรู้เรื่องโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้ฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง  ทำให้มีการตระหนักและเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และสามารถนำไปใช้ได้ในกลุ่มประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ให้สามารถเฝ้าระวังและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้

References

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge

เกรียงไกร เฮงรัศมี. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ; 2557.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบัน; 2551. [เข้าถึงเมื่อ 11 มิถุนายน 2562].เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/th/Upload/File/

พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ, ศิริอร สินธุ. โครงการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการเข้าถึงการ รักษาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (STEMI) เพื่อพัฒนาระบบการแพทย์ ฉุกเฉิน. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2554.

โรงพยาบาลโพนทอง. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจประจำปี 2558-2561. ร้อยเอ็ด:โรงพยาบาล; 2561.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2551. หน้า 187-188.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, กนกพร แจ่มสมบูรณ์, วรณิช พัวไพโรจน์, ปัทมา พีระพันธ, ยุพา อยู่ยืน. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 1: 119-31.

รุจีวรรณ ยมศรีเคน แสงลุน. การประเมินผลการพัฒนาศักยภาพอาสาฉุกเฉินชุมชนกลุ่ม อสม. ในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน(AMI) อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559.

จิตติมา ภูริทัตกุล. การดูแลแบบช่องทางด่วนในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. เอกสารประกอบคำ บรรยายการพัฒนาเครือข่ายโรคหัวใจ. ขอนแก่น; 2552.

จินตนา ชมพูโคตร, สมจิต แดนสีแก้ว. การทำงานของเครือข่ายชุมชนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพ ช่องทางด่วนของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ตำบลโพนทอง อำเภอ เรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 35(4): 132-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-31