การพัฒนาแนวปฏิบัติการในการทำความสะอาด Laryngoscope ที่เหมาะสมเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียใน Laryngoscope ที่ใช้ในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สุพัฒน์ ศรีธัญญรัตน์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ภัศราภรณ์ ศิริษา โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, Laryngoscope, การทำความสะอาด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติ และศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กรอบแนวคิดในการศึกษาใช้ Evidence-based practice model ของซูคัพ (2000) เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาซึ่งประกอบด้วย 4 ระยะคือ 1) การค้นหาปัญหาทางคลินิก 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การนำแนวปฏิบัติไปทดลองใช้และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงาน เก็บรวบรวมข้อมูลที่กลุ่มงานวิสัญญีและกลุ่มงานอายุรกรรม (9 หน่วยงาน) โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือน เมษายน พ.ศ. 2562 ถึง เมษายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวปฏิบัติในการทำความสะอาด Laryngoscope และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เป็นเพศหญิงทั้งหมดมีอายุเฉลี่ย 38.9 ปี (SD=7.56) ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 7.92 ปี (SD =5.38) การทดสอบ Adenosine Triphosphate (ATP) และเพาะเชื้อจาก Laryngoscope blade จำนวน 31 ตัวอย่าง, handle จำนวน 11 ตัวอย่าง พบว่า ค่า ATP อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 100 ผลเพาะเชื้อพบมีแบคทีเรียปนเปื้อนร้อยละ16 เชื้อที่พบเป็น Bacillus spp. และ Coagulase negative staphylococci  ความพึงพอใจโดยรวมเมื่อมีการนำแนวปฏิบัติไปใช้อยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย =3.94; SD =0.25) แนวปฏิบัติในการทำความสะอาด Laryngoscope ที่ได้ประกอบด้วย                6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เมื่อใช้กับผู้ป่วยแล้วปลด Laryngoscope ใส่ในถุงพลาสติก พับปากถุงก่อนนำไปล้างทำความสะอาด ให้ใช้มือจับถุงพลาสติกรูดเอาคราบน้ำลาย หรือสารคัดหลั่งสิ่งปนเปื้อนออกก่อน 2) นำ Laryngoscope ล้างด้วยน้ำประปาสะอาดที่ไหลจากก๊อกน้ำ 3) ใช้แปรงขนนุ่มที่มี 4% chlorhexidine scrub หรือ 7.5% povidone iodine scrub ขัดให้ทั่ว 4) ล้างด้วยน้ำประปาสะอาดอีกครั้งแล้วเช็ดให้แห้ง 5) เช็ดด้วย 70% alcohol รอจนแห้ง แล้วจึงเก็บในกล่องบรรจุที่สะอาดหรือใส่ถุงพลาสติกปิดให้มิดชิด 6) ก่อนการใช้งาน Laryngoscope ให้เช็ดด้วย 70% alcohol เพื่อลดการปนเปื้อน
สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวปฏิบัติในการทำความสะอาด Laryngoscope ที่เหมาะสมที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนที่สำคัญ ผลลัพธ์จากการนำแนวปฏิบัติไปใช้พบว่าผลการทดสอบ ATP อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ100 ผลเพาะเชื้อพบเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนลดลง ความพึงพอใจโดยรวมเมื่อมีการนำแนวปฏิบัติไปใช้อยู่ในระดับมาก

References

กัลยาณี ศุระศรางค์ . การปนเปื้อนของ laryngoscope และการทำความสะอาดที่เหมาะสม. วารสาร ควบคุมโรค. 2559;42(3):176-183.

ธารินี บัวสุข, สหัสา หมั่นดี. การทำความสะอาด Laryngoscope blade หลังการระงับความรู้สึกตาม หลักการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลศิริราช. วิสัญญีสาร. 2563;46(3):167–76.

Beamer JE, Cox RA. MRSA contamination of a laryngoscope blade: a potential vector for cross infection. Anaesthesia. 1999;54(10):1010–1.

Call TR, Auerbach FJ, Riddell SW, Kiska DL, Thongrod SC, Tham SW, et al. Nosocomial contamination of laryngoscope handles: challenging current guidelines. Anesth Analg. 2009 ;109(2):479–83.

Williams D, Dingley J, Jones C, Berry N. Contamination of laryngoscope handles. J Hosp Infect. 2010 ;74(2):123–8.

Simmons SA. Laryngoscope handles: a potential for infection. AANA J. 2000;68(3):233–6.

Chen Y-H, Wong K-L, Shieh J-P, Chuang Y-C, Yang Y-C, So EC. Use of condoms as blade covers during laryngoscopy, a method to reduce possible cross infection among patients. J Infect. 2006;52(2):118–23.

สุพัฒตรา ศรีพอ, สุหัทยา บุญมาก, พลพันธ์ บุญมาก, ทิพยวรรณ มุกนำพร, เพ็ญวิสา แนวทอง, ลำใย แสบงบาล, และคณะ. อัตราการตรวจพบเชื้อของ Laryngoscope blade ภายหลังการทำความสะอาด ด้วยฮีบีสครับความเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับการ ใช้ถุงพลาสติกที่สะอาดหุ้ม. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2549; 21(1):30–5.

นันตสรณ์ สิญจน์บุณยะกุล, ฐิติมา ชินะโชติ, สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์, ปาริยา ผลิเจริญผล. การ ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียของ Laryngoscope ที่ใช้ในห้องผ่าตัด. วิสัญญีสาร 2551;34:85-91.

Soukup,M. The center for advanced nursing practice evidence based practice model. Nursing Clinic of North America. 2000;35(2):301-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29