ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับข้อมูลฉลากอาหาร สัญลักษณ์ โภชนาการอย่างง่ายแบบทางเลือกสุขภาพในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ดารณี ชิตทรงสวัสดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความรอบรู้, สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ, ฉลากอาหาร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความรอบรู้เกี่ยวกับข้อมูลฉลากอาหาร สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพในนักเรียน และศึกษาการบริโภคผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพในครัวเรือน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด 4 แห่ง จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับฉลากอาหาร แบบสอบถามวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับข้อมูลฉลากอาหาร สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ และแบบสำรวจผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .914 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Percentage difference และ Paired t-test
ผลการวิจัย : หลังการพัฒนา พบว่า นักเรียนมีความรู้และความรอบรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001 และ <.001) ตามลำดับ และผลการบริโภคผลิตภัณฑ์สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพในครัวเรือนเพิ่มขึ้น (29.49%)
สรุปและข้อเสนอแนะ :  ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับฉลากอาหาร ฉลากโภชนาการ ฉลากหวาน มัน เค็ม และสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพเพิ่มขึ้นและยังมีสัดส่วนการบริโภคผลิตภัณฑ์ทางเลือกสุขภาพในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นด้วย

References

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์, เรณู การ์ก, ศิริกร ขุนศรี, สุขเกษม เทพสิทธิ์, ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, ธิดารัตน์ อภิญญา. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ(NCDs) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อเสริมสร้าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy : HL) เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลสำหรับอาสาสมัคร สาธารณสุขและประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2562.

พรวิภา ศิริพิชญ์ตระกูล, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, ดุสิต สุจิรารัตน์. ความรอบรู้ทาง โภชนาการในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. Thai Journal of Public Health [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563]; 50:61-75. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/238944/164975

หน่วยรับรองการใช้สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการฯ. หลักเกณฑ์ ของกลุ่มผลิตภัณฑ์[อินเตอร์เน็ต].2562[เข้าถึงเมื่อ 22 เมษายน 2564].เข้าถึงได้จาก: http://healthierlogo.com/

Bloom, Benjamin S. Taxonomy of Education Objective Handbook I : Cognitive New York: David Mackey Company, Inc; 1976.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-28