รูปแบบการดูแลครอบครัวและชุมชนเสี่ยงสูงในสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ชุมชนเสี่ยงสูง, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลครอบครัวและชุมชนเสี่ยงสูงในสถานการณ์ การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และเปรียบเทียบความรู้ ความวิตกกังวลและการปฏิบัติตนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนการดูแลครอบครัวและชุมชนเสี่ยงสูงในสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน และครอบครัวผู้ติดเชื้อ จำนวน 50 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบทดสอบ ความรู้ แบบวัดความวิตกกังวลและการปฏิบัติตนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย paired t test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา
ผลการวิจัย : กระบวนการพัฒนารูปแบบมีส่วนร่วมของชุมชนประกอบด้วย ขั้นทำความเข้าใจปัญหา การกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน การดำเนินการและประเมินผล พบปัญหาที่นำมาจัดทำแผนงาน คือ ความกังวล ความกลัวที่ตนเองจะติดเชื้อและป่วยจนถึงเสียชีวิต การป้องกันไม่ให้ตนเองป่วยและเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยจะสอบถามกับใครได้บ้าง และหลังการพัฒนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความวิตกกังวลและการปฏิบัติตนในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดีกว่าก่อนการพัฒนา (p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ : กระบวนการพัฒนารูปแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในสถานการณ์ โควิด 19 ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านปรับตัวปรับจิตใจให้พร้อมเรียนรู้ครั้งใหญ่ที่จะรับมือกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบใหม่ ก้าวผ่านความไม่เข้าใจ ความวิตกกังวล ความกลัว ความไม่มั่นใจ โดยการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน เป็นพัฒนาการของชุมชนที่สำคัญยิ่ง เมื่อพบวิกฤตใดๆ ผ่าน เข้ามาชุมชนก็จะสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง
References
กระทรวงสาธารณสุข .แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1); 2563
ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 48ง. (ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).
Phuangsomjit. Participatory Action Research on Research in Educational Administration.(Book 2) (Unit 6-10); 3rd edition). Bangkok: SukhothaiThammathirat Open University.(in Thai);2014
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และ พิมพิลา วงศ์ไชยา. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560; 36(6): 192-202.
สัญญา ยือราน และ ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร.การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(2),288-300.
รัถยานภิศ พละศึก ,เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และดลปภัฏ ทรงเลิศ. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(1): 211-223.
อวาทิพย์ แว. COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา 2563;35(1):24-29.
กรมสุขภาพจิต. คำแนะนำมาตรการดูแลภาวะวิกฤติสุขภาพจิต (psychological crisis intervention) ในการระบาดของโรคปอดบวมจากโคโรนาไวรัส 2019 ของประเทศจีน: รูปแบบโรงพยาบาล West China [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/news1/view.asp?id=12
กรมสุขภาพจิต. มุมมองด้านสุขภาพจิตและจิตสังคมของการระบาด COVID-19 Addressing Mental Health and Psychosocial Aspects of COVID-19 Outbreak [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/covid19/news1/view.asp?id=10
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง