ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

รัชฎาภรณ์ เรืองจันทร์

บทคัดย่อ

บทนำ:การให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนแก่ผู้ป่วยก่อนการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นการเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ ส่งผลให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวถูกต้อง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการตรวจ ส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงผู้ป่วยที่ขาดความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติตัวเรื่องการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ เมื่อได้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนช่วยลดความวิตกกังวลได้


วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง (Two-group quasi-experimental research with a pre-test and a post-test) วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการ ให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีกับกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติ กลุ่ม
ตัวอย่างผู้รับบริการคลินิกระบบทางเดินปัสสาวะ จำนวน 60 ราย กลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1) คู่มือการปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบสอบถามความวิตกกังวล ที่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยรอยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, Fisher exact test,Paired t-test, Independent t–test


ผลการศึกษา: หลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการตรวจ ส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีความวิตกกังวลในระดับต่ำ (38.10, SD = 6.14)  กลุ่มควบคุม (41.00, SD = 3.59) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p < 0.05)   


สรุปผล: โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนสามารถลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมนี้มาใช้ในผู้ป่วยก่อนได้รับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ

Article Details

How to Cite
เรืองจันทร์ ร. (2024). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนได้รับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสาธารณสุข, 2(3), 1–11. https://doi.org/10.55164/jphri.v2i3.274299
บท
บทความวิจัย

References

Lotan Y, Trinity JB, William D. Blue light flexible cystoscopy with hexaminolevulinate in non-muscle- invasive bladder cancer: review of the clinical evidence and consensus statement on optimal use in the USA — update 2018. Nature Reviews Urology. 2019;16(6),377–386.

Lee J, Heo JE, Kang SK, Lee KS, Han H, Jang WS, Choi YD. Noninvasive studies may have potential to replace cystoscopy in non-muscle invasive bladder cancer follow-up. Scientific reports. 2022;12(1):21677.

Kawnaul W, Choowattanapakorn T. The effect of education and movement mindfulness meditation program on anxiety among older persons before cystoscopy .Journal of The Police Nurses. 2016;9(2):33-42. (in Thai)

Ministry of Public Healt ,Information Divission. Summary of the report of illnesses 2019.2019.85

Medical record information. Medical record information for the year 2022. Surat Thani Hospital. 2022.

Somburus D,Nursing care for patients with obstructive uropathy under cystoscopy and double J stent placement: a case study. Journal of Health and Environmental Eucation. 2023;8 (4):285-294. (in Thai)

Thuchart S, Asdornwised U, Pinyopasakul W, Trakarnsanga A.The Effects of concrete-objective information program on pre-operative anxiety in abdominal surgery patients. Nursing Science Journal of Thailand. 2019; 37(2):78-91. (in Thai)

Luicharorn P, Normsars R, Chityen T. The Effect of the nursing care program for the pre-ronchoscopic patients on their anxiety level at the central chest Institute of thailand. Journal of the Department of Medical. 2018;43(1):85-89. (in Thai)

Gleason JL. Cystoscopy and other urog ynecologic procedures. Obstetrics and Gynecology Clinics of North America. 2013;40(4):773-785

Sapworarit O. Effect of Structured Health Education to decrease Anxiety and Satisfaction of Patient with Extra Corporeal Shock Wave Lithotripsy: ESWL) at Suratthani Hospital. 2017;31(4):639-648

Polit DF, Beck CT. Essentials of nursing research: Appraising evidence for nursing practice: Lippincott Williams & Wilkins; 2010.

Spielberger C, Sydeman S, Maruish MJH, NJ, US: Lawrence Erlbaum Associates, Inc. State-trait anxiety inventory and state-trait anger expression inventory. The use of psychological testing for treatment planning and outcome assessment. 1994:292-321.

Thapinta D. Reduction of anxiety of staff nurses working with aids patients through cognitive recon structuring and mindfulness. Bangkok: Graduate School of Chulalongkorn University; 1992. (in Thai)

Johnson JE. Self-regulation theory and coping with physical illness. Res Nurs Health. 1999;22(6):435-48

Sowat C, Yotkhamlue K, Sumridpeam P, Promsombut A. Effect of a planned Information provision program on the anxiety levels of persons with hypertension receiving ambulatory anesthesia. Journal of Health and Nursing Education. 2021;27(1):122-136. (in Thai)

Nilsson, U., Dalhberg, K., & Jaensson, M. Low preoperative mental and physical. health is associated with poorer postoperative recovery in patients undergoing day surgery: A secondary analysis from randomized controlled study. Journal of Advanced Nursing, 2019;50(12):1630-1638