ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาไม่สำเร็จของผู้ป่วยวัณโรคในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิชชุตา วังช่วย
ศิยาภรณ์ บุญรุ่ง
วาสนา สุระกำแหง
วิฑูรย์ สุทธิมาส

บทคัดย่อ

บทนำ: จากข้อมูลการรายงานผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลรัตภูมิ ปีงบประมาณ 2559 - 2564 พบจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรค ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 - 2564 มีจำนวน 36, 23, 34, 46, 42 และ 27 ราย ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ป่วยที่เคยรักษาวัณโรคมาก่อนแล้วกลับมาเป็นซ้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราผลการรักษา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความไม่สำเร็จของการรักษา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา


วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยวัณโรค ระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2564 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 208 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Chi-square test หรือ Fisher exact test และLogistic regression


ผลการศึกษา: อัตราผลการรักษาที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้อยละ 18.7 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาไม่สำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ โรคเอดส์ (HIV) ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยรักษาวัณโรคมาก่อน การไม่มีผู้กำกับการกินยา ผลการ               X-ray ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ผลการตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์เดือนที่ 2 5 และ 6 และการทดสอบความไวต่อยารักษาวัณโรค Streptomycin, Isoniazid, Rifampicin, Ethambutol


สรุปผล: อัตราผลการรักษาไม่สำเร็จ ร้อยละ 18.7 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาไม่สำเร็จของผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ โรคเอดส์ (HIV) ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยรักษาวัณโรคมาก่อน การไม่มีผู้กำกับการกินยา       การ X-ray การตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการทดสอบความไวต่อยารักษาวัณโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย