ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการในเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีพัฒนาล่าช้าด้านภาษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง (one group pretest posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ถึงอันตรายและผลกระทบต่อการพัฒนาการเด็ก และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาในเด็กอายุ 2-5 ปีของผู้ปกครอง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม และ 2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ถึงอันตรายและผลกระทบต่อการพัฒนาการเด็ก และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาในเด็กอายุ 2-5 ปีของผู้ปกครอง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อแม่ ผู้ดูแล หรือผู้ปกครองที่ดูแลเด็กอายุ 2-5 ปี และเด็กที่มีอายุ 2-5 ปี ที่รับบริการในคลินิกกระตุ้นพัฒนาการ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2566 จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการในเด็กอายุ 2-5 ปี ที่มีพัฒนาล่าช้าด้านภาษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ของผู้ดูแลเรื่องพัฒนาการเด็ก การรับรู้ถึงอันตรายและผลกระทบต่อการพัฒนาการเด็ก และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาในเด็กอายุ 2-5 ปีของผู้ปกครอง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งจากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรแนะนำสร้างความตระหนักและส่งเสริมให้ผู้ปกครองสามารถทำการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่บ้านให้มากขึ้น โดยใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) และควรมีการติดตามและประเมินผลของการใช้โปรแกรมอย่างต่อเนื่องทุก 6 เดือน หรือ 12 เดือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.