ผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการรับรู้ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะที่สามคลินิกโรคไต โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

จันทนี นิลพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two group pretest-posttest design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ประสิทธิผลของโปรแกรมชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการรับรู้ของผู้ป่วยโรคไต เรื้อรังระยะที่สามคลินิกโรคไต โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการคลินิกโรคไตที่มารับบริการตั้งแต่ระยะที่สาม จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ คู่มือโปรแกรมชะลอไตเสื่อม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย คือ แบบวัดความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตวายเรื้อรังระยะที่สามและแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอไตเสื่อม คุณภาพเครื่องมือได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรง เท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test  Independent t-test   


          ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการรับรู้ของผู้รับบริการหลังการใช้โปรแกรมชะลอไตเสื่อมในกลุ่มทดลอง (=3.80, SD=.203) มากกว่าค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการรับรู้ของผู้รับบริการกลุ่มควบคุม (=3.01, SD=.145)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  (p < .05)  การวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการรับรู้ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง บริการผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการให้บริการในโรงพยาบาลได้

Article Details

บท
บทความวิจัย