ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ตัวแทนครัวเรือน จำนวน 70 คน เป็นกลุ่มทดลอง 35 คน กลุ่มควบคุม 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ แบบสอบถาม และแบบบันทึกปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน กิจกรรมที่ใช้ ได้แก่ ให้ความรู้เชิงปฏิบัติการคัดแยกขยะ อบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการจัดการขยะ สาธิตวิธีการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท และการประกวดครัวเรือนต้นแบบ วิเคราะห์ข้อมูลสถิตเชิงพรรณนา ได้แก่ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัยควอไทล์ และสถิตเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Paired t-test, สถิติ Independent t–test, สถิติ Wilcoxon Matched-Pairs Signed Ranks Test และสถิติ Mann Whitney U test
ผลการศึกษาพบว่าตัวแทนครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ วิธีการจัดการขยะ การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ และปริมาณขยะระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.