ภาวะอ้วนที่ส่งผลต่อระดับธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์และทารก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ยังคงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายของมารดาและทารก ซึ่งภาวะอ้วนนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโคโลหิตจาง และสามารถพบได้บ่อยในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะอ้วนในหญิงตั้งครรภ์ต่อปริมาณธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์และทารก และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอ้วนในหญิงตั้งครรภ์กับปริมาณธาตุเหล็กในทารก
วิธีการศึกษา: โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จากฐานข้อมูล PubMed, Scopus, Science Direct ในปี พ.ศ.2557- 2561 โดยใช้คำค้นที่เกี่ยวข้องกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนและทารก ตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงปริมาณธาตุเหล็กในเลือด
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนพบค่ามัธยฐานของ Hepcidin 11.2 ng/ml. ค่า Ferritin 28.9 ug/L ค่า Serum transferrin receptor (sTfR) 18.4 mg/L และในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่อ้วนพบค่ามัธยฐานของ Hepcidin 7.03 ng/ml. ค่า Ferritin 19.8 ug/L ค่า Serum transferrin receptor (sTfR) 13.2 mg/L ในทารกที่แม่มีภาวะอ้วน พบว่าค่ามัธยฐานของ Ferritin 134.2 ug/L และทารกที่แม่ที่ไม่อ้วน พบว่า ค่ามัธยฐานของ Ferritin 165.5 ug/L นอกจากนี้ยังพบว่า BMI และ Hepcidin ในมารดามีความสัมพันธ์กับปริมาณธาตุเหล็กในเลือด และปริมาณ Hepcidin ในมารดามีความสัมพันธ์กับระดับธาตุเหล็กในทารก
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น โดยการให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ควบคุมน้ำหนักและการรับประทานอาหาร
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. THE GLOBAL PREVALENCE OF ANAEMIA IN 2011. Switzerland: Department of Nutrition for Health and Development World Health
Organization; 2015.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. ภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์ 2561 [cited 2018 15 ตุลาคม]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/ report.
วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, วิชัย เอกพลากร, และคณะ. รายงานสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย สำรวจ สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2554.
สุปราณี แจ้งบำรุง, ประไพรศรี ศิริจักรวาลม, และคณะ. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคน ไทย พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ.
นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล. คู่มือแนวทางการควบคุมและ ป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: สำนัก โภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ. ความชุกของ ภาวะอ้วน(BMI ≥ 25 กก/ม2 และหรือภาวะอ้วนลงพุง (รอบเอวเกิน ชาย 90 ซม. หญิง 80 ซม.) 2561 [cited 2561 15 ตุลาคม]. Available from: https://hdcservice. moph.go.th.
Koenig MD, Tussing-Humphreys L, Day J, Cadwell B, Nemeth E. Hepcidin and iron homeostasis during pregnancy. Nutrients. 2014;6(8):3062-83.
Dao MC, Sen S, Iyer C, Klebenov D, Meydani SN. Obesity during pregnancy and fetal iron status: is Hepcidin the link? Journal of perinatology : official journal of the California Perinatal Association. 2013;33(3):177-81.
Flynn AC, Begum S, White SL, Dalrymple K, Gill C, Alwan NA, et al. Relationships between Maternal Obesity and Maternal and Neonatal Iron Status. 2018;10(8).
Tussing-Humphreys L, Pusatcioglu C, Nemeth E, Braunschweig C. Rethinking iron regulation and assessment in iron deficiency, anemia of chronic disease, and obesity: introducing hepcidin. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics. 2012;112(3):391-400.
Garcia-Valdes L, Campoy C, Hayes H, Florido J, Rusanova I, Miranda MT, et al. The impact of maternal obesity on iron status, placental transferrin receptor expression and hepcidin expression in human pregnancy. International journal of obesity
(2005). 2015;39(4):571-8.
Ko PC, Huang SY, Hsieh CH, Hsu MI, Hsu CS. Serum ferritin levels and polycystic ovary syndrome in obese and nonobese women. Taiwanese journal of obstetrics & gynecology. 2015;54(4):403-7.
Phillips AK, Roy SC, Lundberg R, Guilbert TW, Auger AP, Blohowiak SE, et al. Neonatal iron status is impaired by maternal obesity and excessive weight gain during pregnancy. Journal of perinatology : official journal of the California Perinatal Association. 2014;34(7):513-8.
Abioye AI, Aboud S, Premji Z, Etheredge AJ,Gunaratna NS, Sudfeld CR, et al. Iron Supplementation Affects Hematologic Biomarker Concentrations and Pregnancy Outcomes among Iron-Deficient Tanzanian Women. The Journal of nutrition.
;146(6):1162-71.
Hill B, McPhie S, Moran LJ, Harrison P, Huang TTK, Teede H, et al. Lifestyle intervention to prevent obesity during pregnancy: Implications and recommendations for research and implementation. Midwifery. 2017;49:13-8.
LeBlanc ES, Vesco KK, Funk KL, Karanja N, Smith N, Stevens VJ. Prepare, a randomized trial to promote and evaluate weight loss among overweight and obese women planning pregnancy: Study design and rationale. Contemporary clinical trials.
;49:174-80