พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้แห่งหนึ่งจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมแปรรูปไม้แห่งหนึ่งจังหวัดสงขลา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามโดยแบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความคิดเห็นของพนักงานได้รับสัมผัสปัจจัยสิ่งแวดล้อม และ 3) พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยกลุ่มตัวอย่างทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือ พนักงานในแผนกเฟอร์นิเจอร์จำนวน 42 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Chi - Square Test โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
ผลศึกษาพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีอายุการทำงานตั้งแต่ 1–5 ปี คิดเป็นร้อยละ 83.3 เป็นคนพม่าคิดเป็นร้อยละ 83.3 และพนักงานส่วนใหญ่ได้รับการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 64.3 ระดับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงานอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามในส่วนของระดับความรู้ความเข้าใจในการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงาน อยู่ในระดับสูง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่อายุการทำงาน สัญชาติและระดับการศึกษา ดังนั้นสถานประกอบการควรมีการรณรงค์ส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงอันตรายและส่งเสริมให้พนักงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.