พฤติกรรมการข่มเหงรังแกในเด็กวัยเรียน: ปัญหาที่สังคมไทยไม่ควรมองข้าม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทนำ: พฤติกรรมข่มเหงรังแกในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย โรงเรียนเป็นสถานที่เด็กผู้มีภูมิหลังแตกต่างมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน มีโอกาสเกิดพฤติกรรมดังกล่าวสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหา 1) ความหมาย สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการข่มเหงรังแกในเด็กวัยเรียน 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และ 3) แนวทางป้องกันและการแก้ไขปัญหา
วิธีการศึกษา: สังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบจาก 3 ฐานข้อมูล: Pubmed Sciencedirect และ Directory Of Open Access Journals (DOAJ) ให้ได้องค์ความรู้เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างคืองานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการข่มเหงรังแกในเด็กวัยเรียนทั้งในและต่างประเทศ จำนวนงาน14 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเข้า
ผลการศึกษา: พฤติกรรมการข่มเหงรังแกเป็นพฤติกรรมแสดงถึงความก้าวร้าว มีความรุนแรง สาเหตุส่งเสริมการเกิดพฤติกรรมดังกล่าวมาจากตัวบุคคล ครอบครัวและสังคม การรังแกข่มเหงแสดงออกหลายรูปแบบทั้งทางกาย วาจา การกีดกันทางสังคมและสื่อออนไลน์ ส่งผลให้เกิดบาดเจ็บ สมาธิสั้น มีความวิตกกังวล ไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี หลีกหนีสังคมเกิดภาวะซึมเศร้าจนขั้นคิดฆ่าตัวตาย แนวทางการป้องกันที่สำคัญคือ ความร่วมมือที่เข้มแข็งของทุกฝ่าย (ครอบครัว ผู้บริหารโรงเรียน บุคลากร นักเรียนและชุมชน) เนื่องจากสามารถเป็นเกราะป้องกันการเกิดพฤติกรรมการข่มเหงรังแกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปผล: พฤติกรรมการข่มเหงรังแกเป็นปัญหาที่ร้ายแรงและพบบ่อยมากขึ้นในวัยเรียนช่วงศตวรรษที่ 21 บุคคลแสดงออกถึงพฤติกรรมดังกล่าวหลายรูปแบบส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของผู้ถูกรังแกในระยะสั้นและระยะยาว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.