แนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กันยารัตน์ สมบัติธีระ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • นภาพร หานะพันธ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • อัญชลินทร์ เลิศชุติพันธ์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • ณัฐนรี ศิริภูมิ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

แผนกลยุทธ์, การบริหารทรัพยากรบุคคล, พัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคล, ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากร บุคคลของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เพื่อให้มีแนวทางการการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพ รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลจากเอกสารและ สอบถามบุคลากรศูนย์ฯ ระยะที่ 2 การสนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 คือบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 154 คน กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 2 คือ ผู้บริหาร ด้านทรัพยากรบุคคลศูนย์ ฯ ผู้รับผิดชอบงานด้านบุคลากร และบุคลากรศูนย์ฯ จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลโดยรวบรวมจากเอกสารและการทำ SWOT Analysis แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ การถดถอยเชิงพหุและสถิติ One-way ANOVA จากผลการวิจัยที่ได้มา สรุปได้ว่า เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล พบว่าโดยรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง รวมถึงเมื่อพิจารณาตามรุ่น (generation) ในกลุ่มเพศหญิง ก็ไม่มีความแตกต่างกันในแง่ของความคิด เห็นที่สำคัญทางสถิติ ซึ่งหมายความว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันต่อการบริหาร ทรัพยากรบุคคลในองค์กร จากการวิเคราะห์ SWOT ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ปี 256566 ด้านบุคลากร สามารถกำหนดร่างแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลได้ 9 กลยุทธ์ การสอบถามความคิดเห็น ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจในการบริหารงานด้านทรัพยากรบุคคล ในเรื่องการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร และสิ่งที่ต้องปรับปรุงในการบริหารทรัพยากรบุคคล มากที่สุดคือการเลื่อนเงินเดือน จากผลการสังเคราะห์ข้อมูลข้างต้น จึงกำหนดแนวทางในการบริหาร ทรัพยากรบุคคล ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ได้ 4 ยุทธศาสตร์ 9 กลยุทธ์ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: ทบทวนโครงสร้างบุคลากร มีแนวทางสร้างความสุขให้แก่บุคลากร และสร้างความผูกพันในองค์กร ควรมีการกำหนดนโยบาย และแนวทางการติดตามประเมินผล การพัฒนาบุคลากร ข้อเสนอเชิงนโยบาย: จัดทำโครงการ ในการบริหารทรัพยากรบุคคล แผนพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการบุคลากรและหน่วยงาน พัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติการให้โปร่งใส จัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร

References

องค์การบริหารส่วนตำบลพักทัน. ผลการ สำรวจความพึงพอใจและแรงจูงใจ ในการทำงานของพนักงานองค์การ บริหารส่วนตำบลพักทัน ประจำปี พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567) เข้าถึงได้จาก; https:// www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFO- CENTER40/DRAWER002/GENERAL/ DATA0000/00000247.PDF.

พรสุภา บุญทศ. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งาน ระบบบริหารงานบุคลากรและเงินเดือน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2566

Raymond Noe A.et al.(2003).Human Resource Management : Gaining a Competitive Advantage. New York : McGraw- Hill.

พยอม วงศ์สารศรี. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต; 2552:5

วรชัย สิงหฤกษ. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในสหกรณ์ [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567) เข้าถึงได้จาก; https://agri.stou. ac.th/UploadedFile/%E0%B8%AB% E0%B8%99%E0%B9%888%E0%B8%A 7%E0%B8%A2%E0%B88%97%E0%B8 %B5%E0%B9%88%201.pdf

ดวงรัตน์ ธรรมสโรส, มะกือตา หะยีแว สอเหาะ, ชูลกิฟลี สะอิ, ชอมะ มีสา และ รัสรินทร์ ฐิติวัชร์ฐากุล. ปัจจัยการติดต่อ สื่อสารในองค์กรที่ส่งผลต่อกระบวนการ บริหาร ทรัพยากรมนุษย์ของเทศบาลเมือง สระบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์ 2567; 18: 398-414

สวัสดิ์ สุคนธรังสี. การเลื่อนขั้นเงินเดือน : ตัวกลางปัญหาเรื่องสมรรถภาพข้าราชการ [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2567) เข้าถึงได้จาก; http://library1.nida. ac.th/nida_jour0/NJv20n4_05.pdf

นุตนภา นัทธิ์. ความคิดเห็นบุคลากรต่อ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ บริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัด อุดรธานี. รายงานการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและ นานาชาติ กลุ่มระดับ ด้านบริหารธุรกิจและ รัฐประศาสนศาสตร์ 2559: 7(4)

ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. แผนยุทธศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ปี พ.ศ. 2566- 2570 [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567) เข้าถึงได้จาก; https:// hpc7.anamai.moph.go.th/th/plan/ download/?did=223581&id=109135

กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย. แผนยุทธ์ ศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล กรม อนามัย ปี พ.ศ. 2566- 2570 [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567) เข้าถึง ได้จาก; https://person.anamai.moph. go.th/th/fiscalyear66-70

สมภพ ห่วงทอง. การประเมินกลยุทธ์การนำ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สำคัญตามวัตถุประสงค์ (OKRs) ไปปฏิบัติในงานสาธารณสุขของ จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพยธ์) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2565. 98 หน้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024