ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตต่อภาวะมีบุตรยาก

ผู้แต่ง

  • มกรารัตน์ หวังเจริญ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะมีบุตรยาก, เวชศาสตร์วิถีชีวิต, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมตามหลักเวชศาสตร์วิถีชีวิตในคลินิกมีบุตร ทุกราย ในคลินิกมีบุตรยาก จำนวน 40 ราย โดยเข้าโปรแกรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ตรวจวิเคราะห์ ความสมบูรณ์ ของเลือด (CBC) น้ำตาลในเลือด (BS) ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน ตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การทำงานของไต (Renal function) การทำอัลตราชาวด์ สำหรับเพศหญิง การตรวจการวิเคราะห์น้ำเชื้อสำหรับเพศชายโปรแกรมประกอบด้วย 1) คู่มือการดูแล ตนเองสำหรับผู้มีบุตรยาก 2) ปรึกษานักโภชนากร 3) ปรึกษานักวิทยาศาสตร์การกีฬา 4) ติดตาม เยี่ยม online ทุกสัปดาห์ เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางเวชศาสตร์ วิถีชีวิต (lifestyle assessment) ก่อนและหลังโดยตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการกิน 2) ด้านการออกกำลังกาย 3) ด้านการนอน 4) ด้านบุหรี่/แอลกอฮอล์ 5) ด้านจิตใจ 6) ด้านความสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนมาตรฐาน paired t-test t กำหนด นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และค่าความเบี่ยงเบนเชื่อมั่นที่ 95% ผลการศึกษาพบว่า คะแนนแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพฯ พบว่าคะแนนเฉลี่ยรวม เพิ่มขึ้นโดย ค่า p value < 0.001 ด้านการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.0.010 ด้านจิตใจ คะแนนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.016 ทั้งนี้พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับด้านการกิน คะแนนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.129 ด้านการนอนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.766 ประเมินด้านบุหรี่ฯ เพิ่มขึ้น ค่า p value 0.905 ด้านความสัมพันธ์คะแนนเพิ่มขึ้น ค่า p value 0.534 พบว่าเพิ่มขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ คู่สมรสตั้งครรภ์ จำนวน 2 คู่ ข้อเสนอแนะ : การปรับใช้หลักเวชศาสตร์ วิถีชีวิตมีประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคู่สมรสมรสที่มีบุตรยาก

References

Mascarenhas MN, Flaxman SR, Boerma T, Vanderpoel S, Stevens GA. National, regional, and global trends in infertility prevalence since 1990: A systematic analysis of 277 health surveys. PLoS Med. 2012; 9(12): e1001356. doi:10.1371/joumal.pmed. 1001356

นฤมล เฉ่งไล่. ผลของโปรแกรมลดน้ำหนัก ยุคไทยแลนด์ 4.0 ต่อน้ำหนักตัวของวัยรุ่น น้ำหนักเกินในจังหวัดตรัง.(internet) 2021

ศุภชัย สามารถ และจุฬาภรณ์ โสตะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดย ประยุกต์ใช้ความสามารถ ตนเองร่วมกับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเพื่อ การลดน้ำหนักในกลุ่มวัยทำงานอายุ 40-49 ปีที่มีภาวะ น้ำหนักเกินและโรค อ้วน ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น.2559; 23(3): 34-45.

คณะทำงานจัดทำข้อปฏิบัติการกินอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย. คู่มือธง โภชนาการ กินพอดี สุขี ทั่วไทย. พิมพ์ ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจานุเบกษา. 2552.

Xu M, et al. Weight Management Programme for Overweight and Obese adults in Ningbo, China: A feasibility Study Pre- and Post- Intervention Study. Frontiers in Public Health.2019; 7(388): 1-5.

Jurgens TM, et al. Green tea for weight loss and weight maintenance in overweight or obese adults. Cochrane Database of Systematic Reviews;2012(12)

คลินิกไร้พุง DPAC (Diet & Physical Activity Clinic) [internet]

Maton T,Suphankul P.Effect of Thais without big belly project on reduce BMI and waist circumference of participants in project in area of Lower Norther Region. J Public Health. 2012;42(3):83-94.

Health Promoting Hospital, Regional Health Promotion Center 6. Results of the Clinic for Thai People Raipoong according to the standards of the Department of Health, Fiscal Year 2010. 2010;13-14

Martikainen, H., & Ruokonen, A. (2016). Lifestyle medicine in infertility treatment. Fertility and Sterility, 105(3), 435-40.

Practice Committee of the American Society for Reproductive Medicine. (2015). Obesity and reproduction: a committee opinion. Fertility and Sterility, 104(5), 1116-26.

Thangaratinam S, Mackinnon L, Wang J, et al. Effect of dietary and lifestyle factors on fertility: a systematic review and meta-analysis. Hum Reprod Update. 2013;19(5):580-600.

Cramer E, Cramer RA, Spiegelman D, et al. Physical activity and fertility: a review of the literature. Fertil Steril. 2015;104(6):1580-90. 12. Chow, S.-C., Shao, J., & Wang, H. (2003). Sample Size Calculations in Clinical Research (2nded.). Chapman & Hall/CRC., 51 p.

มกรารัตน์ หวังเจริญ. เรื่องผลของโปรแกรม ควบคุมน้ำหนักผ่านโครงการ Fit for you ของศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น.

Ramlau-Hansen CH, Bonde JP, Jørgensen N, et al. Stress and infertility: a study among Danish women. Hum Reprod. 2010;25(8):2018-20

Jensen TK, Andersen AN, Heitmann BL, et al. Smoking and fertility: the influence of smoking on fertility in a cohort of Danish women. Hum Reprod. 2007;22(3):654-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024