รูปแบบการให้บริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกล ในคลินิกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • นาถฤดี ศิรินาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุวรรณ วิโรจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ณัชชลิดา ยุคะลัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ระบบการแพทย์ทางไกล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, คลินิกผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษารูปแบบการให้ บริการด้วยระบบการแพย์ทางไกลในคลินิกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 64 คน ประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการ 1.1 เจ้าหน้าที่ด้าน สาธารณสุขในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลหนองหาน จำนวนทั้งสิ้น 10 คน 1.2) ผู้รับผิดชอบหลักงาน ผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอหนองหาน จำนวนทั้งสิ้น 14 คน 2) ผู้รับบริการ ผู้สูงอายุที่เคยเข้ารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปีงประมาณ พ.ศ.2566 ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มภาวะสมองเสื่อม จำนวนทั้งสิ้น 32 คน 3) ด้านวิชาการ เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูล มูลโดยใช้แบสอบถาม และแบบสังเกตการมีส่วนร่วม ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2567 - เดือนกันยายน 2567 จากการดำเนินงาน รูปแบบการให้บริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกลในคลินิกผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า รูปแบบการให้บริการด้วยระบบ การแพทย์ทางไกลในคลินิกผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ส่งผลให้สมรรถภาพสมองดีขึ้นแต่ยัง พบว่าระดับสมรรถภาพสมองยังอยู่ในระดับการรับรู้ทางเชาว์ปัญญาบกพร่องหรือมีภาวะสมองเสื่อม คะแนนเฉลี่ยพุทธิปัญญาเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับผิดปกติทั้งหมด และความสามารถในการประกอบ กิจวัตรประจำวันมีค่าคะแนนเฉลี่ยดีขึ้น แต่ยังพบว่าอยู่ในระดับไม่พึ่งพาเพียงร้อยละ 65.6 และ ยังพบว่าระดับความพึงพอใจ จากการศึกษารูปแบบการให้บริการด้วยระบบการแพทย์ทางไกล ในคลินิกผู้สูงอายุ ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้สูงอายที่มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1. ความพร้อมของเทคโนโลยี 2. ความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ 3. การประสานงานระหว่างทีมดูแลสุขภาพ 4. การสนับสนุน 5. การประเมินผลและพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565 โดยกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมกิจการผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้ จาก: https://www.dop.go.th/th/know/ side/1/1/1962

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ ไทย. รูปแบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https:// thaitgri.org

Health Data Center. จำนวนผู้สูงอายุ จังหวัดอุดรธานี ปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

โรงพยาบาลหนองหาน. คลินิกผู้สูงอายุ โรง พยาบาลหนองหาน [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้ จาก: https://www.nonghanhospital.

World Health Organization. Ageing and health [อินเทอร์เน็ต]. 2023. [เข้าถึง เมื่อ 25 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https:/www.who.int/news-room/ fact-sheets/detail/ageing-and-health

สุวรรณา เชียงขุนทด, พุทธวรรณ ชูเชิด, เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ, พัสมณฑ์ คุ้มทวี พร. การศึกษาภาระค่าใช้จ่ายในการมา รับบริการที่โรงพยาบาลของผู้สูงอายุใน กรุงเทพมหานคร. วารสารพุทธจิตวิทยา. 2565;7(2):172-85. go.th/

Dvoryadkina E, Fechina A. Defining “telemedicine services” in the context of large-scale digitalization. In EDP Sciences; 2021. p. 08021.

Saigí-Rubió F, Borges do Nascimento IJ, Robles N, Ivanovska K, Katz C, Azzopardi-Muscat N, et al. The current status of telemedicine technology use across the World Health Organization European Region: An overview of Systematic Reviews. J Med Internet Res. 2022;24(10):e40877.

Onishi Y, Yoshida Y, Takao T, Tahara T, Kikuchi T, Kobori T, et al. Diabetes management by either telemedicine or clinic visit improved glycemic control during the coronavirus disease 2019 pandemic state of emergency in Japan. J Diabetes Investig. 2022;13(2):386-90.

Dong MD, Steuwe S, Barry LA, Siegel CA. The use of telemedicine in older patients with gastrointestinal diseases. Curr Treat Options Gastroenterol. 2022;20(4):594-604

จิรวัฒน์ บุญรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแล ผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่เกาะ. วารสารโรง พยาบาลสิงห์บุรี. 2566;31(3):19-35.

Muili AO, Mustapha MJ, Offor MC, Oladipo HJ. Emerging roles of tel- emedicine in dementia treatment and care. Dement Neuropsychol. 2023;17:e20220066.

Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The action research planner: Doing critical participatory action research. 2014; 14. Best JW. Research In Education 3rded; Englewood Cliff. 1995;

วรรณฤดี ศิริธรรม, สุชาดา โพธิ์นิ่มไทย. ประสิทธิผลของการดำเนินงานคลินิกผู้สูง อายุเคลื่อนที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้า. 2566;

นิตยา คล่องขยัน. การพัฒนารูปแบบ บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพรเจริญ ด้วยระบบ Telemedicine. วารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. 2567;2(1):e267809-e267809.

ดวงดาว ราตรีสุข, ญาณีกร สีสุรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการให้ บริการทางสุขภาพผู้ ป่วยโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูงใน สถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิ้ง. วารสาร การแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566;38(2):339-48.

ปิยะ บูชา, นิพิฐพนธ์ แสนด้วง. การวิจัย และพัฒนา : กระบวนการและประยุกต์ใช้. วารสารสาธารณสุขแพร่เพื่อการพัฒนา. 2564;(1).

จารุรัตน์พัฒน์ทอง. การพัฒนารูปแบบบริการ การแพทย์ทางไกล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2567;(3): 452-64.

สามารถ พันธ์เพชร. การวิเคราะห์ปัจจัย ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีผลต่อความสำเร็จของการ ดำเนินงาน พัฒนาคุณภาพข้อมูลด้านการป้องกันและ รักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. วารสารโรคเอดส์. 2022;34(1): 20-34.

รัฐกานต์ พิพัฒน์วโรดม, ทิพย์วรรณ จูมแพง. การดำเนินงานและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุ เทศบาล ตำบลนาป้า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และ สุขภาพ. 2024;9(2):514-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024