ประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการแบบบูรณาการพรีเมี่ยม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (การศึกษานำร่อง)
คำสำคัญ:
ประสบการณ์การใช้บริการ, ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ, บรูณาการพรีเมี่ยมบทคัดย่อ
การศึกษาประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วย มีความสำคัญในการ พัฒนาและออกแบบระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาล เพื่อตอบสนองต่อภาวะสุขภาพและ ความต้องการของผู้ป่วยที่มารับบริการได้ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการ แบบบูรณาการพรีเมี่ยม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรคือผู้ป่วยที่มารับ บริการแบบบูรณาการพรีเมี่ยม ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดตัวอย่าง 416 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคลและแบบประเมินประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจต่อการบริการ ซึ่งมีค่า ความเที่ยงเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการ แบบบูรณาการพรีเมี่ยมโดยรวม อยู่ในระดับดี (X= 4.31, S.D.= 0.63) โดยผู้ป่วยที่มารับบริการ ที่ห้องตรวจพรีเมี่ยมมีประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจ อยู่ในระดับดี (X= 4.27, S.D.= 0.61) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X= 4.27, 5.D.= 0.64) ด้านการได้รับข้อมูลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=4.07, S.D.=0.70) สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการที่หอผู้ป่วย ในพรีเมี่ยมมีประสบการณ์การใช้บริการและความพึงพอใจของอยู่ในระดับดีมาก (X=4.54,5.D.=0.58) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X= 4.37, 5.D.= 0.63) และด้าน การได้รับข้อมูลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (X=4.22, 5.D.=0.75) ดังนั้นควรส่งเสริมการได้รับข้อมูลของ ผู้ป่วยเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีและความพึงพอใจแก่ต่อการรับบริการ
References
อภิญญา จำปามูล และคณะ. ประสบการณ์ ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. วารสารการวัดผลการศึกษา. 2566;40(107): มกราคม-มิถุนายน.
University of Utah Health. Patient experience. NEJM Catalyst. 2019 Mar [cited 2024 Jun 1]. Available from: https://www.qualitythestory.com/.
ณัฐฐา เสวกวิหารี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความ พึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาล รามาธิบดี; 2560.
Queen Sirikit Heart Center of the Northeast. [cited 2024 Jul 1]. Available from: https://heart. kku.ac.th/index. php?option=com_content&view=art icle&id=165&catid=94&Itemid=1214.
หน่วยเวชสถิติ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ. ข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยที่ เข้ารับการรักษาพยาบาลและเข้ารับบริการ ปี 2565-2566. ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2566.
ปรมินทร์ตรา จิตมณี. การศึกษา ประสบการณ์การใช้บริการและความพึง พอใจของการเข้ารับบริการงานตรวจผู้ป่วย นอก แผนกรังสีรักษา โรงพยาบาลศูนย์ ราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565;41(4): ตุลาคม-ธันวาคม.
Quality of Medical Care: Situation and Literature Review คุณภาพการดูแลรักษา ทางการแพทย์: ทบทวนสถานการณ์ และ วรรณกรรม. สำนักวิชาการแพทย์ กรมการ แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
กรรณิการ์ รุจิวรโชต. การศึกษาความพึง พอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการ ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กรมสนับสนุน บริการสุขภาพ; 2563.
รื่นฤดี แก่นนาค และคณะ. ประสบการณ์ การรับบริการของผู้มารับบริการแผนกการ พยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (การศึกษานำร่อง). Srinagarind Med J. 2018;33(Suppl): การประชุมวิชาการครั้ง ที่ 34 ประจำปี 2561.
เนตรเพชรรัสมิ์ ตระกูลบุญเนตร. ความพึง พอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนวุฒิสมเด็จ ย่า. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9(2): กรกฎาคม-ธันวาคม.
The Agency for Healthcare Research and Quality (AHRO). CAHPS Clinician & group survey. 2015 [cited 2024 Jun 1]. Available from: https://www. ahrq.gov/cahps /surveys-guidance/ cg/instructions/index.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง