ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของนักศึกษา หลักสูตรฟิสิกส์อุปกรณ์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • มีนา พรนิคม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • วิษณุศาสตร์ อาจโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรู้ด้านอาชีวอนามัย, นักศึกษา (หลักสูตรฟิสิกส์เครื่องมือแพทย์), มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ของนักศึกษาหลักสูตรฟิสิกส์อุปกรณ์การแพทย์ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ ด้านอาชีวอนามัยของนักศึกษาหลักสูตรฟิสิกส์อุปกรณ์การแพทย์ รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2567 จำนวน 63 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาที่อยู่ระหว่างการเรียนรายวิชา อาชีวอนามัยและความปลอดภัย เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในโรงพยาบาล 3)แบแบสอบถามความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความ รอบรู้ด้านอาชีวอนามั้ย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.0 ด้านที่มีคะแนนสูงที่สุด คือ การเข้าถึงข้อมูลและบริการด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 61.9) และรายด้านที่คะแนนน้อยที่สุด คือ ทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 73.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ ด้านอาชีวอนามัย ได้แก่ มีประวัติการได้รับความรู้ด้านอาชีวอนามัย (p-value=0.023) และการมี ประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (p-value=0.002) ดังนั้น การเสริมสร้าง ความรอบรู้ด้านอาชีวอนามัยให้กับนักศึกษาควรเน้นเรื่องทักษะการสื่อสารข้อมูลด้านอาชีวอนามัย การจัดบริการด้านอาชีวอนามัยให้เหมาะสมและการฝึกปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านอาชีวอนามัยได้อย่างปลอดภัยและ มีประสิทธิภาพ

References

ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. ความรอบรู้ทาง สุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพ และผลลัพธ์ สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาล ทหารบก. 2561;19 (ฉบับพิเศษ): 1-11.

Nutbeam D. Health promotion glossary.Health promotion interna- tional. 1998; 13(4):349-64

สำนักนายกรัฐมนตรี แผนปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา 2561; 135 (เล่ม 24 ก) ลงวันที่ 6 เมษายน 2561

RauscherK.J,Myers D.J.Occupational health literacy and work-related injury among US adolescents. Int J Inj Contr Saf Promot 2014;21(1):81-9

Azizi N,Karimy M,Abedini R,Armoon B, Motazeri A. Development and validation of the health literacy scale for worker. Development and validation of the health literacy scale for workers. Int J Occup Environ Med 2019; 10(1) : 30-9

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, คณะวิศวกรรมศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น : [ม.ป.ท.], c2564. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2567]. เข้าถึงได้ จาก: https://sph.eng.rmuti.ac.th/curricu- lum/

วีรนุช เชาวกิจเจริญ. ความรอบรู้ด้านอาชีว อนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาลแห่ง หนึ่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร. [ปริญญา นิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

วรรษนันท์ นามเทพ. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อความรอบรู้เรื่องสุขภาพและ ความปลอดภัยในการทำงานของแรงงาน ข้ามชาติที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2561 : 32(3),115-32.

มริสสา กองสมบัติสุข, ฌาน ปัทมะ พลยง, ดวงเดือน ฤทธิเดช. ความรอบรู้สุขภาพ ด้านอาชีวอนามัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ป้องกันโรคและการบาดเจ็บ จากการ ทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2563;3(2), 112-20.

อลงกรณ์ สุขเรืองกูล, จักรพันธ์ โพธิภาพ, วสันต์ชาย สุรมาตย์, มณฑิรา ชนะกาญจน์, กัลยา ปังประเสริฐ, เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้าน สุขภาพของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชียจังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(1), 156-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024