ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการคัด กรองผู้มารับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การคัดกรอง, โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจบทคัดย่อ
งานวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะ แห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการคัดกรองผู้มารับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อ ระบบทางเดินหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ชอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานจุดคัดกรองผู้รับบริการ งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 30 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้โรคติดต่อระบบทาง เดินหายใจ แบบสอบถามทัศติเกี่ยวกับการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบทาง เดินหายใจ และแบบสอบถามทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบ ทางเดินหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบความแตกต่าง ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ เพิ่มขึ้นจาก 15:90 (SD +0.99)เป็น 19.50 (SD+0.57) คะแนนทัศนคติเพิ่มขึ้นจาก 31.87 (SD+8.40) เป็น 46.47 (SD+5.22) และทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบ ทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นจาก 33.80 ( (SD+7.99) เป็น 49.17 (SD+0.79) คะแนนความรู้ ทัศนคติและ ทักษะการคัดกรองฯก่อนและหลังการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีส่วนช่วยส่งเสริมความรู้ ทัศนคติและทักษะ ปฏิบัติการคัดกรองผู้รับบริการที่เข้าข่ายสงสัยโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจของพยาบาลวิชาชีพ ในหน่วยงาน ดังนั้นควรนำโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา บุคลากรในองค์กรต่อไป
References
World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) pandemic. (2023). Available from:chromextension:// efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/ https://cdn.who.int/media/docs/ default-source/searo/thailand/2022. August 12, 24,
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่1 พฤศจิกายน 2564]; เข้าถึงได้จาก : https:// ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงาน ประเมินความเสี่ยงกรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563]; เข้าถึง ได้จาก : https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/fle/report/risk- week38n13.pdf
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. รายงาน สถิติการคัดกรองผู้รับบริการ งานเวชระเบียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2565.
งานเวชระเบียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. รายงานสถิติ การคัดกรองผู้รับบริการ งานเวชระเบียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัย ที่ 7 ขอนแก่น. 2566.
ประณีต หล่อปรีชากุลและชนณิศา แก้ววิเศษ. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม การป้องกันการติดเชื้อ จากการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จ พระยุพราชสระแก้ว. วารสารวิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2566; 34 (1): 115-28.
Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review. 1977; 84(2):191-215.
นพรัตน์ ธาระณะและ รัตนาภรณ์ ธนศิริจิรา นนท์. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะ แห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ความรู้ และความพึงพอใจในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ในมารดา หลังคลอดบุตรคนแรก. พยาบาลสาร. 2562; 46(4): 70-82.
Cohen J.Statistical Power Analysis for the Behavior Sciences. 2nd ed. Hills- dale, NJ: Lawrence Erlbaum Associate; 1988.
อาทิตนันท์ สมิงนิล. ผลของโปรแกรมส่งเสริม รับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการปฏิบัติงานในการบริการ แพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการ แพทย์ในเขตอำเภอ สามง่ามจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).2564. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
วรรณดี ภู่ภิรมย์, อุราภรณ์ เชยกาญจน์ และ นิสากร จันทวี. ผลของโปรแกรมการ ส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถ ในการเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจเพาะเชื้อ ของพยาบาลวิชาชีพและอัตราการปนเปื้อน เชื้อจุลชีพ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561: 32 (3): 1189-98.
สุจิตรา ขัติยะ และ ศุภวรรณ ใจบุญ. (2567). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับ รู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้ และพฤติกรรม ของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนล่าง. วชิรสารการพยาบาล. 2567; 26(1): 25-40.
ชลาลัย เปียงใจ,นฤมล ธีระรังสิกุลและศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการ รับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อพฤติกรรมการดูแล เด็กโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ ดูแล. วารสารพยาบาล. 2560; 67(3): 1-9.
สมพร สันติประสิทธิ์กุลและปิยธิดา จุลละปีย. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริม การรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อผลลัพธ์ ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. วารสาร การพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(1): 100-09.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง