ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, สมุนไพร, สุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของผู้สูง อายุ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ จำนวน 362 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปาก ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่า IOC= 0.96 ค่าความสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นโดยรวม 0.786 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ และ สถิติฟิสเชอร์เอ็กแซคเทส กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05 ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 55.3) อายุอยู่ระหว่าง 61- 70 ปี (ร้อยละ 57.2) ระดับการศึกษาประถมศึกษา (ร้อยละ 76.8) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 69.6) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 61.6) มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในช่องปากอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 73.0, X= 11.48+1.80) ทัศนคติการใช้สมุนไพรในช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 73.0.0, X= 3.40+0.94) และพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากอยู่ในระดับต่ำ(ร้อยละ 73.8, X=2.13+1.0B) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปาก ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับความรู้ และระดับทัศนคติ (p = 0.048, 0.006, 0.011, 0.012 และ p<0.001 ตามลำดับ) จากผลการศึกษาดังกล่าว ควรส่งเสริมและจัดกิจกรรมการให้ความรู้ ทัศนคติ เพื่อให้ ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงประโยชน์การใช้สุนไพรในช่องปาก เพื่อทดแทนการรักษาและลดต้นทุน การดูแลสุขภาพจากยาแผนปัจจุบัน
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจ ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557.กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561.นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่; 2562.
กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ)จำกัด; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ จังหวัด อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อุบลราชธานี; 2566.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำขวาง. รายงานข้อมูลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ. อุบลราชธานี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ วารินชำราบ; 2565.
สมตระกูล ราศิริ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, ธิติรัตน์ ราศิริ, นิพนธ์ แก้วต่าย. การใช้สมุนไพร บรรเทาโรคในช่องปาก. วารสารทันตาภิ บาล. 2560; 28(2): 124-33.
เฉลิมพรเกียรติ ปรุงโพธิ์, นวัตกร เข็มทอง, สุธาทิพย์ ศรีอ่อนจันทร์, กิ่งแก้ว มาพงษ์, ธนิสสา รามฤทธิ์, พัชราพร ดิษทับ. พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในช่องปากของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารทันตาภิบาล. 2564; 32(2): 70-82.
กฤติเดช กิ่งไม้. ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของผู้สูงอายุ ที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2560; 36(2): 56-69.
วิษณี วิจันทึก. ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของ ประชาชนบ้านหนองบัวศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สาธารณสุข. 2562; 28(2): 244-54.
S.K. Lwanga and S. Lemeshow. Sample size determination in health studies: a practical manual. Geneva: World Health Organization; 1991.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ สำหรับงานวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2547.
Bloom, Benjamin S. Handbook on Formative and Summative Evalua- tion of Student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้าง เครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์; 2553.
Best, John W. Research in Education. 3's. Englewod cliffs: N.J. Prentic- Hall Inc; 1977.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. วิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น; 2551.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรม ศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, เรณู สะแหละ, ยุวดี กองมี. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรใน การดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน อำเภอกงหรา จังหวัดพัทพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(1): 50-9.
Schwartz, N.E. Nutritional Knowledge, Attitude and Practice of High School Graduated. Journal of the American Dietetic Association. 1975; 66(1): 28-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง