ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์คลินิก ฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ชอนแก่น
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก, หญิงตั้งครรภ์, โรงเรียนพ่อแม่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบศึกษากลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลังการทดลอง (One-Group pretest-posttest Design) ทำการศึกษาผลของการใช้ รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น โดยให้เรียนรู้ด้วยตนเองดูคลิปวีดีโอสั้น ๆ ผ่าน Google form เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนความรู้ก่อนและหลังของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมรูปแบบ การเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่ และประเมินความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อการใช้รูป แบบการเรียนรู้แบบ เชิงรุก ช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเลือกตัวอย่าง แบบเจาะจง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เมื่อมา ฝากครรภ์ครั้งแรกที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น จำนวน 50 คน เข้าโรงเรียนพ่อแม่โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบ วัดความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมรูปแบบ การเรียนรู้แบบเชิงรุกใช้ Paired-samples t-test ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมรูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกในโรงเรียนพ่อแม่ มีคะแนนความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมิน ความพึงพอใจด้านเนื้อหา ความรู้ความเข้าใจและด้านรูปแบบการเรียนรู้ ความพึงพอใจของหญิง ตั้งครรภ์ต่อการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (X=4.84, SD=0.37) ข้อเสนอแนะสำหรับการสอนโรงเรียนในคลินิกฝากครรภ์ควรนำรูปแบบการสอนโรงเรียน พ่อแม่แบบเชิงรุกเข้ามาเป็นทางเลือกให้แก่หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มที่ไม่สะดวกเข้ามาเรียนในห้องเรียน ตามวันเวลาที่นัดได้และควรสนับสนุนให้มีการจัดโรงเรียนพ่อแม่ในรูปแบบเชิงรุกเป็นแพ็กเกจ สำเร็จรูปที่ทุกโรงพยาบาลสามารถนำไปใช้ได้เพื่อหญิงตั้งครรภ์จะได้เข้าร่วมเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ วิทยากรโรงเรียนพ่อแม่สำหรับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3 สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์: กรุงเทพมหานคร. 2554.
เบญญาภา ธิติมาพงษ์ ศศิธร พุมดวง จัณทร์ปภัสร์เครือแก้ว โสเพ็ญ ชูนวล วิไลพร สมานกสิกรณ. การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์1. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา. 2563.
ภัทรนิษฐ์ ไกรโสภา. พัฒนารูปแบบการ ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจาก การขาดธาตุเหล็กที่คลินิกฝากครรภ์แผนก ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยโสธร. ยโสธร เวชสาร. 2566; 25(3):91-101.
วัลภา สนธิเส็ง. ผลของการให้ความรู้ ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพใน การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิง ตั้งครรภ์ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2563; 2(2):171-86.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. มาตรฐาน งานอนามัยแม่และเด็ก บริการฝากครรภ์ คุณภาพ. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย: กรุงเทพฯ. 2565.
สุรางรัตน์ โฆษิตธนสาร, วิไลลักษณ์ ปิยะวัฒนพงษ์, นงลักษณ์ แสนกิตะ, อภัสรา มาประจักษ์. ผลของโปรแกรม การสอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก: https://he01. tci-thaijo.org/index.php/johpc7/ article/view/251280/169756.
ศิริณธร มังคะมณี และคณะ. การศึกษา ภาวะสุขภาพจิตของหญิงตั้งครรภ์ที่รับ บริการฝากครรภ์ ณ.โรงพยาบาลเจ้าพระยา ยมราช จังหวัดสุพรรณบุรี, วารสาร การพยาบาลและการศึกษา. 2553; 3(1): 29-40.
รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ และอนุรักษ์ แท่นทอง. ผลกระทบและกลยุทธ์การรับมือ ในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้ สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19. Journal of Modern Learning Development. 2565; 7(4): 208-31.
Faul, F., Erdfelder, E.,Lang, A. G., & Buchner, A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39(2): 175-91.
เบญจมาศ คุชะนี, จตุพร สกุลสุทธิวัฒน์, ณิชาภัทร สมัยพานิช, อชิดา จารุโชติก มล, ปวิตรา พูลบุตร. ประสิทธิผลของ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เภสัชวิทยาของยารักษาแผลในทางเดิน อาหาร:[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567]; เข้าถึงได้ จากhttps:// tcithaijo.org/index.php/tstj/article/ view/118207
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริ ยาสาส์น: กรุงเทพมหานคร. 2557.
บุญญลักษณ์ ตำนานจิตร. การจัดการ เรียนรู้เชิงรุกโดยใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาเทคนิค ศึกษา. 2567; 36(129): 3-11.
พัทธนันท์ บุตรฉุย, พันทิพา อมรฤทธิ์. ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใน สภาพแวดล้อมอีเลิร์นนิงแบบมีปฏิสัมพันธ์ ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดขั้นสูง ในระบบการศึกษา ทางไกล. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2566; 17(1): 74-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง