ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแล ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตศูนย์บริการสาธารณสุข 1 จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อณิศา หงษาคำ โรงพยาบาลเทศบาลอุดรธานี
  • อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน, พฤติกรรมการดูแล, ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้ดูแลในครอบครัวจึงเป็นหัวใจสำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแล การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัด ก่อน-หลัง เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริม การรับรู้ความสามารถแห่งตน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบ ด้วย โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบ ประเมินพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired test ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิง ระดับดี ร้อยละ 60.00 ส่วนหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง ระดับดีมาก ร้อยละ 83.33 และคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้งนั้น การสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่งตนทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีการรับรู้และ พฤติกรรมการดูแล ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ

References

สุดา คำสุชาติ. ปัญหาและความต้องการ ดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการ สาธารณสุข. 2560; 26(6): 1156-64.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2565. ผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิง. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2567], เข้าถึงได้ จาก: https://www.dop.go.th/th/statistics_ page?cat=3&id=2527

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2565. การสำรวจ ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567]; เข้าถึงได้ จาก: https:// www.dop.go.th/download/knowl- edge/th1687612748-2406_0.pdf

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลลดา ศรีหานู, ทิพวรรณ ทับซ้าย. สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุ ระยะยาวในชุมชนภายใต้กองทุนระบบการ ดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสาร ศูนย์อนามัยที่ 9. 2564; 15(36): 44-62.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. (2566). ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับ การดูแลตาม Care Plan. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567]; เข้า ถึงได้ จาก: https://dashboard.anamai. moph.go.th/dashboard/agedcare- plan/changwat?year=2023&rg=08

ประกายมาศ ดอกหอม, ทิพวัลย์ไชยวงศ์ และ สัณหวัช ไชยวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรม การสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถแห่ง ตนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสา สมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2565; 18(1): 57-67.

อังคณา ศรีสุข และจิราพร เกศพิชญวัฒนา. ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแล บิดา มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง. วารสาร พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2562: 31(2): 72-84.

จี จีราวรรณ นามพันธ์, นฤมล เอื้อมณีกูล และ สุรินธร กลัมพากร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติงานของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563; 28(3): 57-69.

ชนายุส คำโสม, สุนีย์ ละกำปั่น และเพลิน พิศ บุณยมาลิก. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ปฏิบัติงานดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงใน ระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562; 12(2): 62-78.

ภาวิณี พรหมบุตร, เอื้อจิต สุขพูล, กิตติภูมิ ภิญโย และปิยนุช ภิญโย. ผลของโปรแกรม การเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อ ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการ ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในชุมชนของจังหวัดแห่งหนึ่ง ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้), วารสารพยาบาล สงขลานครินทร์. 2558; 35(2): 113-28.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. New Jersey: Prentice Hall. 1986.

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. In. New York: W. H. freeman. 1997.

วิภาวี แป้นทอง, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม และรจฤดี โชติกาวิ นทร์. โปรแกรมการเสริมสร้างความ สามารถ แห่งตนต่อความรู้ การปฏิบัติ และความ คาดหวังในการดูแลผู้สูงอายุด้าน กายภาพบำบัดของผู้ดูแล ในตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. วารสาร พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2566; 33(2): 71-84.

อรวรรณ แผนคง, สุนทรีย์ คำเพ็ง, ภัทริตา สุวรรณโน และกมลลักษณ์ สูตรสุข. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้าง ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 7(4): 29-41.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาด ตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่ง สุวรรณภูมิ. 2562; 5(1): 496-507

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัย ทางการพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย. 2553.

สุพจน์ ดีไทย ศิริรัตน์ ปานีอุทัย และทศพร คำผลศิริ. ผลของการเตรียมความพร้อมก่อน จำหน่ายต่อความยากลำบากในการเผชิญ ปัญหาหลังจำหน่ายของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรค หลอดเลือดสมอง. พยาบาลสาร. 2561; 48(2): 170-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024