การพัฒนาระบบการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุวพิทย์ แก้วสนิท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงาน, อนามัยสิ่งแวดล้อมโรงพยาบาล, จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม และเพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบ การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2567 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากร จำนวน 153 คน ผู้รับบริการ จำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีผลการทดสอบค่าเชื่อมั่นดังนี้ การรับรู้โอกาสเสียงการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล alpha = 0.87 การมีส่วนร่วม ดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล a(pha = 0.89 และความพึงพอใจผู้รับบริการต่อลักษณะ สภาพแวดล้อมโรงพยาบาล alpha = 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า ผลการพัฒนาการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ในโรงพยาบาล มีการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ มีแผนจัดซื้อตามเกณฑ์ มีเครือข่ายวิสาหกิจ ชุมชน และมีการพัฒนาบุคลากร พบปัญหาการดำเนินงานตกเกณฑ์ ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบไม่ตรง ตามแผน ราคา และงบประมาณ ไม่มีความพร้อมในการตรวจสารปนเปื้อน ไม่มีแนวทางการ ปฏิบัติ ขาดการประชาสัมพันธ์ ผู้ผลิตไม่ต่อเนื่อง และเกณฑ์มีความละเอียดมากเกินไป มีค่าเฉลี่ย การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเจ็บป่วยจากสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลหลังพัฒนาโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-6.603, p<.001) หลังพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วม ดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลมากกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-12.195, p-value <:001) ผลการประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการต่อลักษณะสภาพแวดล้อม โรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (56.48+14.36) ข้อเสนอแนะ การสร้างการมีส่วนร่วม ดำเนินงานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมดำเนินงาน ที่ส่งผลให้ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมโรงพยาบาล

References

กรองกาญจน์ บริบูรณ์, กรแก้ว ถิรพงษ์สวัสดิ์. ปัญหาสุขภาพตามความเสี่ยง จากการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาล ขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น 2564; 3(2): 221-35.

กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์การ จัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 3 กรกฎาคม 2566] เข้าถึงได้จาก: http:// www.pud.go.th

อรุณี คำจันทร์วงศ์. การศึกษาสถานการณ์ ด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรง พยาบาลตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital Challenge ปี 2566. สำนัก อนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https:// env.anamai.moph.go.th/th/ news-anamai

Cohen JM, Uphoff NT. Rural Development Participation: concept and measure for project design implementation and evaluation: rural development committee center for international studies. New York: Cornell University Press; 1981.

Mahrinasari MS, Haseeb M, Bangsawan S, Sabri MF, Norzaidi and Daud M. Effects of GREEN operational practices and E-CRM on patients satisfaction among Indonesian Hospitals: Eeploring the moderating role of GREEN social influence. Operational Research in Engineering Sciences: Theory and Application 2023; 6(1): 236-51.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. รายงานการตรวจราชการกรณีปกติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.skho.moph.go.th

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้ อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.

ปียวดี พิศาลรัตนคุณ. การวิเคราะห์การ ดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ สำนักส่งเสริมสุขภาพ. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [สืบค้น เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://hp.anamai.moph.go.th/th/ research

Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son; 1967.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

สายทิวา รามสูต, ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม, สรนาถ สินอุไรพันธ์, Sigit Dwi- ananto Arifwidodo, สุปรียา หวังพัชรพล, พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์. โรงพยาบาลสร้างสุข (ภาวะ) โครงการวิจัยสิ่งแวดล้อม สรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ กรณีศึกษา: สถาน พยาบาล. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อม สรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ. บุญศิริการพิมพ์; 2558.

สิริมา มงคลสัมฤทธิ์. รายงานผลการสำรวจ ความพึงพอใจต่อการให้บริการของโรง พยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2563:1-12.

ศรัญรัตน์ ธานี, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์. การพัฒนารูปแบบดา เนินงานโรงพยาบาล GREEN and CLEAN Hospital ของ โรงพยาบาลน้ำขุ่น อำเภอน้ำขุ่น จังหวัด อุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2566; 12(1):5-14.

นริศรา นพคุณ, สุรพงษ์ ชูเดช. ปัจจัยที่มีผล ต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนา อนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ GREEN & CLEAN Hospital ของบุคลากรโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น 2564; 14 (4):12-23.

สุภชา คำเขียน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ บุคลากรในโรงพยาบาลพิจิตร. วารสาร วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาสารคาม 2564; 5(9):125-39.

เนตรเพชรรัสมิ์ ตระกูลบุญเนตร. ความ พึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการ ของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนวุติ สมเด็จย่า. วารสารพยาบาลตำรวจ 2560; 9(2):65-74.

Amankwah O, Weng-Wai C and Mohammed AH. Modelling the Mediating Effect of Health Care Healing Environment on Core Health Care Delivery and Patient Satisfaction in Ghana. Environmental Health Insights. 2019; 13:1–14.

Alibrandi A, Gitto L, Limosani M and Mustica PF. Patient satisfaction and quality of hospital care. journal homepage: www.elsevier.com/ locate/evalprogplan; 2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2024