การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองหลังได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง, การผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพองบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วยกรณีศึกษา 2 ราย ศึกษาแบบเฉพาะ เจาะจงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองหลังที่ได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อหนีบ หลอดเลือดสมองโป้งพอง ตั้งแต่ระยะก่อนผ่าตัด หลังการผ่าตัด และระยะฟื้นฟูก่อนจำหน่าย โดยศึกษาข้อมูลประวัติการรักษาจาก เวชระเบียน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองจำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัญหาของผู้ป่วย เพื่อเข้าสู่กระบวนการพยาบาล โดยใช้กรอบแนวคิด FANCAS ใน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบกรณีศึกษา ผลการศึกษา กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน ตามมาตรฐาน มีการเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพื่อรับการดูแลแบบประคับ ประคอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความทุกข์ทรมาน และมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือให้พ้นภาวะวิกฤต แต่ยังหลงเหลือความพิการ บางส่วนที่ต้องได้รับการฟื้นฟู และทำกายภาพบำบัดต่อที่บ้าน สรุปผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองและรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ เพื่อหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดเลือดอกช้ำ เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันด้านการดำเนินโรคที่ ได้แก่ อายุ พฤติกรรมด้านสุขภาพ ชนาด และความรุนแรงของพยาธิสภาพของโรค และภาวะแทรกช้อนของโรคขณะทำการรักษา ส่งผล ต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะเวลาช้า หรือเร็วแตกต่างกัน
References
กองโรคไม่ติดต่อ/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566]; เข้าถึงได้ จาก: https://pr.moph.go.th.
Chantra R, Sansuwan R, Heeaksorn C. Care for stroke patients with a multidisciplinary team. Journal of Royal Thai Army Nurses; 18 (suppl). 2017; 49-55.
Kusum V, Takarnvanich T, Kamwicha P, Chotnopparatpattara P, Krongyuth S, Charuwanno R, et al. Critical care nursing: a holistic approach. 6'h Edition. Bangkok: Saha Pracha Panich Inc. 2017.
Punjaisee S, Phuenpathom N, Veerasan K, Charnmarong N, Khaoroptham S, Siwanuwatn R, et al. Clinical practice guidelines for hemorrhage stroke. Bangkok: Tana Press Co., Ltd. 2013.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การประเมิน ผู้ป่วยระยะวิกฤต: FANCAS ใน สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, กาญจนา สิมะจารึก, เพลินตา ศิริปการและชวนพิศ ทำนอง (บรรณาธิการ). การปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤต. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2556.
วิจิตรา กุสุมภ์. กระบวนการพยาบาลและ ข้อวินิจฉัยการพยาบาล: การนำไปใช้ใน คลินิก. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์; 2552.
อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาล และการนำใช้. วารสารทหารบก, 25557; 15(3).
วิจิตรา กุสุมภ์. การพยาบาลผู้ป่วยภาวะ วิกฤต: แบบองค์รวม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์. 2560.
Furlan AD, Irvin E, Munhall C, Giraldo-Prieto M, Fullerton L, McMaster R, et al. Rehabilitation service models for people with physical and/ or mental disability living in low- and middle-income countries: A systematic review. J Rehabil Med 2018; 345-55
Richards CL, Malouin F, Nadeau S. Stroke rehabilitation: clinical picture, assessment, and therapeutic challenge. Prog Brain Res 2015; 218: 253-80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง