การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • นิศามณี มะโนขันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • เขมิกา สมบัติโยธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุวรรณ วิโรจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนารูปแบบ, การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, เครือข่ายชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนจำนวน 24 คน แล้วเก็บข้อมูลในกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กก่อนวัยเรียนกลุ่มละ 55 คน โดยใช้แบบสอบถามด้านความรู้ เจตคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองในการดูสุขภาพช่องปากเด็ก แบบประเมินสภาวะอนามัยช่องปาก แบบสำรวจสภาวะทันตสุขภาพช่องปากและแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางโดยใช้สถิติ Paired sample t-test และ Wilcoxon matched pair signed rank test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ โดยศึกษาบริบท วิเคราะห์ปัญหา และระยะดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการ PAOR ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) ดำเนินตามแผนปฏิบัติการ 3) นิเทศติดตาม 4) สรุปปัญหาอุปสรรคและวางแผนในการแก้ปัญหา จากการดำเนินงานได้ 4 กิจกรรม ดังนี้ 1) การอบรมให้ความรู้ครู 2) การอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง 3) กำหนดข้อปฏิบัติการดูแลสุขภาพช่องปาก 4 ) การประเมินการดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ผลลัพธ์เชิงปริมาณ พบว่า หลังการพัฒนาผู้ปกครองมีค่ามัธยฐานคะแนนความรู้ ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เด็กก่อนวัยเรียนมีค่าอนามัยช่องปากดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน ติดตามและประเมินผลเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

References

กิตติคุณ บัวบาน. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพช่องปากกับคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2560;16:45-56.

ศรีสุดา สีละศิธร, เมธินี คุปพิทยานันท์. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตูสู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2555.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2561.

Health Data Center. กลุ่มรายงานมาตรฐานข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก 2565[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ksn.hdc.moph.go.th/hdc/ main/index.php.

โรงพยาบาลสมเด็จ. รายงานผลการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน 2565.

Kemmis, Mc Taggart. The action research planner. Geelong: Deakin University; 1988.

ชนะจิต ผลเจริญ. การพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน บริบทพื้นที่เกาะหมากน้อย อําเภอเมือง จังหวัดพังงา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

กชปิญา ผดุงพันธ์. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารทันตาภิบาล. 2562;30(1):39-54.

ปาริฉัตร ถาวรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. Journal of Health Sciences and Pedagogy. 2564;1(2):69-82.

วิไลวรรณ เวียงดินดำ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2564;3(1):117-30.

อรรถวิทย์ ก้อนคำ. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

ปณิธาน สนพะเนา, สันติสิทธิ์ เขียวเขิน, สุพัตรา วัฒนเสน. การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนต าบลหมื่นไวย ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสาทันตาภิบาล. 2562;30(103-119).

ชูเลิศ สีแสด. รูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์

จังหวัดศรีสะเกษ. วารสาทันตาภิบาล. 2560;28(2):58-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024