ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพวัยรุ่นต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • มเหศักดิ์ ภูริวัฒน์ภากร ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • แพรวทิพฑ์ สุธีรประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ธัญลักษณ์ วัฒน์ศิริธรรม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, วัยรุ่น, การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพวัยรุ่นต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนเอกชนในเขตสุขภาพที่ 7 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 80 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมดังกล่าว ผลการศึกษาหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า 1) ด้านการคุมกำเนิดกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(95% CI = 1.81 – 2.83; p-value<0.001) 2) ด้านการเข้าถึงข้อมูลสิทธิ์ของวัยรุ่นตาม พรบ. ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 กลุ่มทดลองมีคะแนนการรับรู้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(95% CI = 10.27–16.94; p-value=0.001) 3) ด้านการรับข้อมูลข่าวสารและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อเข้าถึงบริการทางการแพทย์และเครือข่ายส่งต่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยในเขตสุขภาพที่ 7 กลุ่มทดลอง มีคะแนนการรับรู้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI=0.62–6.99; p-value=0.020) 4) ด้านทักษะการตัดสินใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มทดลองมีคะแนนความรอบรู้มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI = 1.81 – 2.83; p-value=0.001) และ 5) ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร กลุ่มทดลองมีคะแนนมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI = 10.27–16.94; p-value<0.001) โดยสรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯ สามารถเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพวัยรุ่นต่อ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้ ดังนั้น จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในวัยรุ่นกลุ่มอื่นๆ

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. การพัฒนาประชากรเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ของประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค.2566. เข้าถึงได้จาก: https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/Thai-ICPD25Report-ONLINE-compressed.pdf

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค.2566. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/FsYoG

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ.2560-2569. [อินเทอร์เน็ต] 2562. เข้าถึงเมื่อ 1 ธ.ค.2566. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl.asia/r1zed

Kilfoyle, K. A., Vitko, M., O'Conor, R., & Bailey, S. C. Health literacy and women's reproductive health: Asystematic review. Journal of Women's Health. 2016; 25(12): 1237-1255.

ดลฤดี เพชรขว้าง, อัมพร ยานะ และอรทัย แซ่ตั้ง. ความรู้เกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และความต้องการในการเข้ารับบริการตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2562; 2(1): 99-106.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

พีรพล ไชยชาติ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

Sorensen K., Broucke S., Fullam J, Doyle G., Jürgen P., Slonska Z. & Helmut B. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models .[Internet]. 2012. [cite 1 December 2023]. Available from: https://doi.org/10.1186/1471-2458-12-80

Nutbeam, D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67(12): 2072-2078.

Nutbeam, D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int J Public Health. 2009; 54: 303-305.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. หลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.); 2561.

วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ บุคลากรกรมอนามัยเรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024