ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในบริบทชุมชนกึ่งเมือง

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา ลุนพุฒิ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นวลละออง ทองโคตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • น้ำทิพย์ ไพคำนาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความสามารถ, การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในบริบทชุมชนกึ่งเมือง จำนวน 210 คนโดยวิธีสุ่ม เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถแห่งตน ทัศนคติ พฤติกรรมจิตบริการ และความสามารถของ อสม.ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในบริบทชุมชนกึ่งเมือง มีค่าเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค เท่ากับ 0.78 – 1 ความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity) 0.90– 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในบริบทชุมชนกึ่งเมือง มี 5 ปัจจัย คือ อายุ≥ 60 ปี(ORadj=2.56 95%CI: 1.320-4.960) ประกอบอาชีพ(ORadj=2.21 95%CI: 1.030-4.710)การได้รับความรู้จากทีมสุขภาพ(ORadj=2.21, 95%CI: 1.030-4.710)การรับรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุระดับสูง(ORadj=3.44, 95% CI: 1.540-7.690)และพฤติกรรมจิตบริการระดับสูง(ORadj= 2.78, 95% CI: 1.340-5.780)จากผลการศึกษาครั้งนี้ ควรพัฒนาศักยภาพความสามารถในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอสม.ในบริบทชุมชนกึ่งเมือง ด้วยกลวิธีสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตน ส่งเสริมพฤติกรรมจิตบริการ และการคำนึงถึงบริบทของ อสม.ในพื้นที่ ในการศึกษาครั้งต่อไป

References

United Nations. World population aging, United Nations Department of Economic and

Social Affairs and Population Division. Retrieved September 2, 2021. [Internet]. 2019. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WorldPopulationAgeing2019-Report.pdf

United Nations. Social Policies Catalogue on Population Ageing. [Internet]. 2020. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก: https://asiapacific.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/200930_unfpa_ageing_catalouge_layout-3.pdf

สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://ltc-older.dop.go.th/download/knowledge/th1676866133-130_0.pdf

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559. กรุงเทพ: อมรินทร์พริตติ้ง แอนดพลับลิชชิง 2558.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. บรรณาธิการ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, วิจิตร แผ่นทอง และปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. ภาวะสุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564; 3(36): 150-63.

ศรีสุดา ลุนพุฒิ. การพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวแบบสมาร์ทต่อคุณภาพชีวิต ภาวะซึมเศร้า และ

การทำกิจกวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2565. 194 หน้า.

รัถยานภิศ พละศึก และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสาร เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(3): 135-50.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-09-07-11-21-93471516.pdf

Kowitt SD, Emmerling D, Fisher EB, Tanasugarn C. Community Health Workers as Agents of Health Promotion: Analyzing Thailand’s Village Health Volunteer Program. J Community Health 2015; 40(4): 780–88.

ศรายุทธ คชพงศ์ และธนัสถา โรจนตระกูล. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก.วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2564; 6(2): 107-19.

จักรี ปัถพี และนวลฉวี ประเสริฐสุข. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุข

ประจำหมู่บ้าน อำเภอพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University 2559; 9(3): 1190-205.

ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, บุญศรี กิตติโชติพาณิชย์ และรวีวรรณ ศรีเพ็ญ. ปัญหาและความต้องการการ ดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้นของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครปฐม. วารสารวชิรสารการพยาบาล 2562; 21(2): 23-33.

Bandura A. Self-Efficacy.The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company; 1977.

Thorndike RM. Correlational Procedures for Research. New York: Garner Press; 1978.

สุรีพันธุ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: วิฑรูย์การปก; 2558.

อิสราวุฒิ บุญไตรย์. คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท. (การค้นคว้าแบบอิสระ

หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

วรัญญา จิตรบรรทัด, ธมลวรรณ แก้วกระจก และพิมพวรรณ เรืองพุทธ. ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และความพึงพอใจของผู้สูงอายุอายุในตำบลบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2560; 23(1): 5-16.

สุพัตรา สหายรักษ์ และภัทราวดี เทพสง. การฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2563; 5(3): 62-68.

พีรเทพ รุ่งคุณากร, พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม และศิริณา จิตต์จรัส. ภาวะผู้นำแห่งการรับใช้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการพัฒนา. Veridian E-Journal Silpakorn University 2560: 10(1): 1103-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024