ผลของโปรแกรมความรู้การป้องกันภาวะโลหิตจางในผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน

ผู้แต่ง

  • อนงค์พรรณ ฉลาดสกุล ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • กาญจนี เพชรบ่อทอง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การให้ความรู้, การป้องกันภาวะโลหิตจาง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรู้การป้องกันภาวะโลหิตจางในผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กอายุ 6-9 เดือน ที่มารับบริการในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 – มกราคม 2567 จำนวน 66 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมความรู้การป้องกันภาวะโลหิตจางในผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือนเป็นเวลา 12 สัปดาห์ วัดความรู้ พฤติกรรมการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในผู้ปกครองเด็ก และระดับฮีมาโตคริตของเด็กอายุ 9 เดือนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยสื่อ วีดีทัศน์ สื่ออินโฟกราฟ แบบบันทึกการลงข้อมูลการให้ยา ส่งความรู้ผ่านทางแอพพลิเคชันไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ พฤติกรรมการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในผู้ปกครองเด็กอายุ 6 เดือน และผลการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางของเด็กอายุ 9 เดือน ผลการทดลองพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และคะแนนพฤติกรรมการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางของเด็กอายุ 9 เดือน กลุ่มทดลองมีระดับฮีมาโตคริตมากกว่าเท่ากับ 33 % สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ P-value .215

References

4th report − the world nutrition situation: nutrition throughout the life cycle [internet]. 2000: [144 p.]. Available from: https://www.unscn.org/web/archives_resources/files/rwns4.pdf

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. ภาวะโลหิตจางปัญหาที่ต้องทบทวน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา; 2546.

Idjradinata P, Pollitt E. Reversal of developmental delays in iron-deficient anemic infants treated with iron. Lancet (London, England). 1993; 341(8836): 1-4.

มันทนา ประทีปะเสน. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทยครั้งที่ 5 พ.ศ.2546. นนทบุรี: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์,วินัดดา ปิยะศิลป์, วันดี นิงสานนท์, ประสบศรี อึ้งถาวร. Guideline in Child Health Supervision พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สรรพสาร จำกัด; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. สำนักโภชนาการ. คู่มือแนวทางควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/download/?did=194488&id=82488&reload=

วศินี ติตะปัณ. ความชุกของภาวะโลหิตจางและผลการรักษาด้วยการให้ธาตุเหล็กทดแทนในเด็กอายุ 9 - 12 เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2566001101.pdf

กาญจนี เพชรบ่อทอง. การรับประทานยาน้ำเสริมธาตุเหล็กในเด็กอายุ 9 เดือน ที่มารับบริการคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResList.aspx

พรรษ โนนจุ้ย. การให้สุขศึกษา. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 2564; 36(2): 246-251.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. การออกแบบสอบถามสำหรับงานวิจัย. กรุงทพฯ: บริษัทจูน พับลิซซิ่ง จำกัด. บริษัท ส. เอเชียเพรส (1989) จำกัด; 2556.

อรุณี ตระการรังสี, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ และกรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรของมารดาที่มีบุตรคนแรกอายุระหว่าง 2 - 6 เดือน โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลทหารบก2558; เล่มที่16(3): 23-31.

บุษบา อรรถาวีร์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. การควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6 -12 เดือน.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2563; 31(2): 82-93.

ศุภลักษณ์ จุเครือ. การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ Gifographic ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CC. งานพัฒนาสื่อผสม กองเทคโนโลยีสารสรเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

อัจฉรา รัตนวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแล. วารสารพยาบาล. 2561; 67(3): 1-9.

เกศปรียา แก้วแสนเมือง. พฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจจากแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ของผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-45 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร; 2558.

ริษา ดีจุฑามณี, อัจฉรา มูลรัตนา,จิราภรณ์ อรุณากูร,วีรวรรณ โพธิ์แย้ม, สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์. ประสิทธิผลของการให้ยาเสริมธาตุเหล็กทุกสัปดาห์เพื่อป้องกันภาวะเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วชิรสารการพยาบาล; ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561: 13-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-08-2024