ความรู้และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำของพนักงานทำความสะอาด ห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรู้และพฤติกรรม, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, พนักงานทำความสะอาดบทคัดย่อ
พนักงานทำความสะอาดมีโอกาสสัมผัสสารเคมีจากผลิตภัณฑ์สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำมากกว่าบุคคลทั่วไป ถึงแม้บริษัททำความสะอาดมีการชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ อันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ และการป้องกันอย่างถูกต้อง และพนักงานมีระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำในระดับมาก แต่ไม่อาจสรุปได้ว่ามีพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมเสมอไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำ และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 46 คน ถูกเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด และสถิติ Fisher’s Exact Test ในการหาค่าความสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.78 อายุเฉลี่ย 46.15 ปี (S.D. = 10.55) ได้รับคำชี้แจง หรือแนะนำ เกี่ยวกับวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ อันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ และการป้องกันอย่างถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 97.80 ระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 95.70 และระดับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ในภาพรวม อยู่ในระดับปฏิบัติระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.00 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำ พบว่าระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมี (p-value = 0.246)
References
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ภัยมืดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด. คลังความรู้ SciMath [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานครฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.scimath.org/article-science/item/2101-dark-of-cleaning-products#:~:text
สุภาวดี สาระวัน. เคมีในชีวิตประจำวัน สำคัญกับเราจริงหรือ?. คลังความรู้ SciMath [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานครฯ: 2563 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.scimath.org/article-chemistry/item/11463-2020-04-20-08-25-47
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากร พ.ศ.2557. สำนักงานสถิติแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานครฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/11976/16235.pdf
กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมจัดหางาน. ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอาชีพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานครฯ: กรมจัดหางาน; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/bkk_th/a8b1450c699bf90745de2cf8221447b6.pdf
ฉัตร์ยุภา จิโนรส, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธ์, และวันเพ็ญ ทรงคำ. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลสาร 2559;43(1):57-69.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี:กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1588848107.pdf
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 19 กันยายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/formulation_example.pdf
วันปิติ ธรรมศรี, สิริพร พรมอุทัย, วนิดา บุษยาตรัส, และสุขุมาภรณ์ ศาลางาม. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดแมลงของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 2564;7(2):71-81.
ปัทมาพร บุดดาเพ็ง, และอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552;2(3):1-8.
กฤติวิชญ์ สุขอิ้ง, และสุวรรณา พนาอดิศัย. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้า บ้าน ห้วยส้านลีซอ ตำบลห้วยชมพู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสต์และเทคโนโลยี (เพื่อการ พัฒนาท้องถิ่น) 2564;16(1):19-33.
กนกวรรณ วรปัญญา, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, และนันทพร ภัทรพุทธ. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาดใน โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563;16(1):94-105.
รัตนาวรรณ พนมชัย, และอุไรวรรณ อินทร์ ม่วง. การประเมินความเสี่ยงจากการ ทำงาน ของพยาบาลแผนกผู้ป่วยใน กรณีศึกษา โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;12(2):73-84.
ณัฐธยา วิไลวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสาร วิทยาลัยนครราชสีมา 2559;393-400.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง