ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - 6 เดือน ของผู้ดูแลหลัก ในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ดูแลหลัก, เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนบทคัดย่อ
วิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน ของผู้ดูแลหลักในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 รายและกลุ่มทดลอง 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนโดยเก็บข้อมูลในช่วงเริ่มต้นและหลังเข้าร่วมโปรแกรม 2 เดือน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่วยให้ผู้ดูแลหลักมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน [อินเตอร์เนต]. [ปทุมธานี]: กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา; 2559.
Ball J, Bindler R, Cowen K, Shaw M. Principles of pediatric nursing: caring for children. 7th Ed. New jersey: Pearson; 2012.
Bowden VR, Greenberg CS. Pediatric nursing procedures. 3rd ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพเด็กทุกช่วงวัย. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลัง
นานาวิทยา; 2555.
World Health Organization. The Health Literacy Toolkit for Low- and Middle-Income Countries. A series of information sheet to help empower communities and strengthen health systems. Regional Office of South East Asia; 2015.
พนิต โล่เสถียรกิจ, วิยดา บุญเลื่อง, ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์, วรรณภา กางกั้น, พรณิชา ชุณหคันธรส, แน่งน้อย ธูปแช่ม และคณะ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2554. เลขที่รายงาน ISBN 978-616-11-2686-5.
ศรินนา แสงอรุณ. การศึกษาผลของการประเมินพัฒนาการ โดยใชแบบคัดกรองพัฒนาการอนามัย 49 เทียบกับแบบคัดกรองพัฒนาการ Denver II ในเด็กอายุ 2 4 9 และ 15 เดือน. (สาขากุมารเวชศาสตรพัฒนาการและพฤติกรรมของแพทยสภา). กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแหงชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
กระทรวงสาธารณสุข. เชื่อมั่นเด็กไทยไอคิวดี อีคิวเด่น “การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พ.ศ.2559”. จังหวัดนนทบุรี: 2559. สืบค้น [สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พ.ค.2563], จาก: https://doc.dmh.go.th/report/compare/iqeq.pdf
ศริวิรรณ ชอบธรรมสกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกัน โรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 2561; 8(1):116-123.
จิระภา ขาพิสุทธิ์ ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัย
นเรศวร. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2561;24(1):67-78.
Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine. 2008; 67(12): 2072-8.
Sorensen K, Pelikan JM, Rothlin F, Ganahl K, Sloska Z, Doyle G, et al. Health literacy in Europe: comparative results of the European health literacy survey (HLS-EU). European Journal of Public Health. 2015; 25(6):1053-58.
Osborn RH, Batterham RW, Elsworth GR, Hawkins M, & Buchbinder R. The grounded psychometric development and initial validation of the health literacy questionnaire (HLQ). BMC Public Health, 2013; 13:1-17.
Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int. J Public Health, 2009; 54:303-305.
Kwan B, Frankish J, Rootman I. Institute of Health Promotion Research The development and validation of measure British Columbia: UBC Institute of Health Promotion Research; 2006.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส (1989); 2558.
ปทิตตา เดชโยธิน. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - 6 เดือนของผู้ดูแลหลักในคลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น; 2563.
อัจฉรา รัตนวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแล. วารสารพยาบาล. 2561; 67(3): 1-9.
รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง