รูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ : การทบทวนอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • รัตติยากร ถือวัน กรมการแพทย์
  • กิตติพงษ์ สอนล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคหลอดเลือดสมอง, การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวนมาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความพิการและเสียชีวิตในอัตราที่สูง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ เป็นการทบทวนอย่างเป็นระบบ โดยคัดเลือกจากงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) และงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่เผยแพร่ปี 2560-2566 จาก Google Scholar ใช้หลัก PICO ในการสืบค้น โดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยของ เฮลเลอร์ (Heller)ผลการศึกษา พบว่า มีบทความที่ผ่านเกณฑ์ในการคัดเลือก 30 เรื่อง โดยผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ 10 เรื่อง ประกอบด้วยการวิจัยกึ่งทดลองจำนวน 5 เรื่อง และการวิจัยเชิงปฏิบัติการจำนวน 5 เรื่อง พบว่า รูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ การส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรค การรับรู้ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค การรับรู้สัญญาณเตือนของโรค การรับรู้ช่องทางขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินและสิ่งชักนำที่ก่อให้เกิดการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากบุคคลต้นแบบ การฝึกทักษะเฉพาะ การเยี่ยมบ้าน การให้คำปรึกษา ซึ่งพบว่า คะแนนการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ดังนั้นรูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุและผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงได้ ทั้งนี้ ควรประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมศาสตร์หลายทฤษฎีร่วมกันเพื่อพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมและสร้างการคงอยู่ของพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ

References

World Stroke Organization. Impact of stroke [internet]. 2023 [cited 2023 June]; Available from: http://www. www.worldstroke.org

สำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์. สรุปผลตรวจราชการและนิเทศงาน [Inter-net]. 2022. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2023]; เข้าถึงจาก: https://inspection.dms.go.th/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสุขภาพคนไทย [Inter-net]. 2024. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2024]; เข้าถึงจาก: https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=1&pf=01818101&tp=12_3

ณฐกร นิลเนตร. ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. 2019; 20(2): 51-7.

พรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล. โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) [Internet]. 2023 [เข้าถึง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2023] ; เข้าถึง จาก: http://www.med.nu.ac.th

สาคร อินโท่โล. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุ ในบริบทการบริการปฐมภูมิ (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จังหวัดขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2017.

ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี. Systematic review: Review methodology [Internet]. 2022. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2023]; เข้าถึงจาก: https://thaigpfm.org/wp content/uploads/2020/05/9.00-10.30-Systematic-re-view.pdf

Best, John. Research in Education. New Jersey:Prentice Hall. 1977.

รัชนี ขุมเงิน. รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองเพื่อป้องกันภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทุ่งบอน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 17(3):119-31.157157 ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2567

ศิริรักษ์ ปานเกตุ, พรสุข หุ่นนิรันดร์.การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโดย ใช้ชุมชนเป็นฐานเขตสุขภาพที่ 4. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 7(7):132-48.

ไพรินทร์ พัสดุ, ดารุณี จงอุดมการณ์. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองใน กลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 13(1):179-95.

ทิตาวดี สิงห์โค, ศากุล ช่างไม้, ทิพา ต่อสกุลแก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 16(2):42-60.

สุวรรณี แสนสุข, จินตนา พลมีศักดิ์, นริศรา อารีรักษ์, ถนอม นามวงศ์. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข ชุมชน. 8(04):195.

ศิริรัตน์ ผ่านภพ, นภาเพ็ญ จันทขัมมา, มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13(2):528-538.

สุพัตรา ต๊ะแสนเทพ. ผลของการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้ในการป้องโรคหลอดเลือดสมอง (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). จังหวัดเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2019.

ชื่นชม สมพล, ทัศนีย์ รวิวรกุล, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 31:57-74.

สุปราณี พรหมสุขันธ์, สุธรรม นันทมงคลชัย,กรวรรณ ยอดไม้, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. ผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยการสนับสนุนของครอบครัว ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในชุมชน.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 37(1):77-87.

สุวรรณี แสนสุข, จินตนา พลมีศักดิ์, นริศรา อารีรักษ์, ถนอม นามวงศ์. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนสู่ระบบบริการสุขภาพโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข ชุมชน. 8(04):195-.

พิศิษฐ์ ปาละเขียว, จันทร์จิรา ยานะชัย, ศิริรัตน์ ผ่านภพ. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านดอนแก้ว อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน. 14;1(1).

พันทิพพา บุญเศษ, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง สูง ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ.

จารุวรรณ จันดาหงษ์, เดชา ทำดี, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเชื่อด้านสุขภาพต่อ พฤติกรรมการป้องกัน158วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่นโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50(1):300-13.

สวาท วันอุทา. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุม ระดับความดันโลหิตไม่ได้ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 8(4):142-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-03-2024